ความต้องการจำเป็นในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารทรัพยากรทางการศึกษา, โรงเรียนขนาดเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาเรียงตามลำดับสำคัญ 3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 จำนวน 65 โรงเรียน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 242 คน แบ่งเป็นผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 26 คน และครูผู้สอนจำนวน 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ เท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความสำคัญของความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารทรัพยากรอาคารสถานที่ รองลงมา คือ การบริหารทรัพยากรวัสดุ อุปกรณ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และด้านการบริหารทรัพยากรงบประมาณ ในส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารทรัพยากรงบประมาณ รองลงมา คือ การบริหารทรัพยากรอาคารสถานที่ ส่วนด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล 2) ความต้องการจำเป็นในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาสามารถเรียงตามลำดับความสำคัญเป็น ดังนี้ (1) ด้านการบริหารทรัพยากรงบประมาณ (2) ด้านการบริหารทรัพยากรวัสดุ อุปกรณ์ (3) ด้านการบริหารทรัพยากรอาคารสถานที่ (4) ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล 3) ข้อเสนอแนะในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา พบว่า มีประเด็นที่สำคัญเป็นดังนี้ (1) ควรมีการวางแผนและการกำหนดอัตรากำลังที่เหมาะสม (2) ควรดูแลรักษา วัสดุ อุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา และใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด (3) รัฐบาลควรจัดสรรเงินงบประมาณให้เพียงพอ (4) ควรดูแลรักษาอาคารสถานที่มีอยู่แล้วและควรใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน: ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุนมุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2544). การวิจัยและพัฒนาเพื่อการปฏิรูปโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพพงษ์ บุญจิตราดุลย์. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ตีรณสาร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปรีชา คัมภีรปกรณ์. (2554). ประมวลการสอนชุดวิชาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา หน่วยที่ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช: นนทบุรี.
พรทิพย์ หลักเฉลิมพร และพรเทพ รู้แผน. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 4(1), 55-61.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก.
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก.
พัชรกฤษฎิ์ พวงนิล. (2553). กลยุทธ์การระดมทรัพยากรทางการศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานของรัฐในจังหวัดมหาสารคาม (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
พิสิษฐ ภู่รอด. (2553). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, กรุงเทพฯ.
ยุภาภรณ์ สุทธิโคตร. (2555). การระดมทรัพยากรทางการศึกษาด้านทรัพยากรบุคคลและด้านวัสดุอุปกรณ์ของโรงเรียนในอำเภอเซกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 3 (การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนครพนม, นครพนม.
รุ่ง แก้วแดง. (2553). ปฏิวัติการศึกษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
วัฒนา วงศ์เกียรติรัตน์. (2555). การวางแผนงานเชิงกลยุทธ์ในหน่วยงานภาครัฐบาล. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชญ์ภาส สว่างใจ และพูนสิน ประคำมินทร์. (2558). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษาในเขตอำเภอปลาปาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 5(2), 128-136.
สมพิศ ใช้เฮ็ง, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล, และพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตเมืองและชนบท. วารสารครุศาสตร์, 41(3), 19-37.
สุริยาพร ดวงจักร ณ อยุธยา และไพโรจน์ พรหมมีเนตร. (2558). การบริหารทรัพยากรทางการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
อำเภอปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา, 9(1), 46-51.
สุทธิวรรณ ตันติรจนาวงศ์. (2549). ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการ สถานศึกษา (School Management) หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สังวาลย์ วุฒิเสลา. (2548). สภาพและปัญหาการบริหารงานทรัพยากรทางการศึกษาของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. (2562). รายงานการประเมินความก้าวหน้าคุณภาพนักเรียนชั้นประถมศึกษา. สกลนคร : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1.
สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ธนาเพรส.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.