บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามทัศนะของครู

ผู้แต่ง

  • ณทธรา มณีวรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุภาวดี ลาภเจริญ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การวิจัยในชั้นเรียน, บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา, การส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามทัศนะของครู จำแนกตามกลุ่มขนาดของโรงเรียนระดับการศึกษา และวิทยฐานะ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 6,110 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) ตามขนาดของโรงเรียน คือ ขนาดใหญ่ ขนาดใหญ่พิเศษ และกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ระดับนัยสำคัญ .05 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน ตามทัศนะของครู โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน และด้านการให้การยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน ตามทัศนะของครู จำแนกตามขนาดของโรงเรียน ในภาพรวมแตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการให้การยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านอื่นๆ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา ในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน ตามทัศนะของครู จำแนกตามระดับการศึกษา ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการให้การยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน และด้านการให้ความสำคัญกับการวิจัยในชั้นเรียนแตกต่างกัน ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน 4) ผลการเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน ตามทัศนะของครู จำแนกตามวิทยฐานะ ภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

References

กนกจิต สีด้วง. (2558). การส่งเสริมการดำเนินงานวิจัยในชั้นเรียนของโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

คณินณัช กลิ่นหอม. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียน โรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

บุญช่วย สายราม. (2557). ทักษะภาวะผู้นำสำหรับผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่. สืบค้นจาก http://www.drrammsu.blogspot.com/2014/11/blog-post.html

ปัญญา คณะเมธ. (2560). บทบาทของผู้บริหารในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูในโรงเรียนระดับประถมศึกษา เขตอำเภอเขาคิชฌกูฎ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ยุพา ช่างกล. (2560). บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา (การค้นคว้าอิสระการศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, ปทุมธานี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสด-ศรีสฤษดิ์วงศ์.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2553). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cohen, L., Manion, L., M., & Morrison, K. (2011). Research Methods in Education (7th ed.). U.S.A.: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-28

How to Cite

Share |