การพัฒนาความสามารถในการจำคำศัพท์วิชาภาษาอังกฤษด้วยวิธีการสอนแบบตอบสนอง ด้วยท่าทาง (TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • สุทธิดา ชัยประสิทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ชวลิต เกตุกระทุ่ม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การจดจำคำศัพท์, วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง First Day at School ด้วยวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางด้านความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง First Day at School ด้วยวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/6 ที่เรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสุนทรวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1 อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง First Day at School โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและแนวทางการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ โดยการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) และ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) และหาค่าความสอดคล้อง ระหว่างแบบทดสอบกับจุดประสงค์ (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่า IOC ให้เกณฑ์ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป จำนวน 30 ข้อ พร้อมนำผลคะแนนที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์เป็นรายข้อเพื่อวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย (p) ตั้งแต่ 0.20-0.80 และค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20-1.00 หาความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้สูตร KR-20 ของ Kuder-Richardson ทั้งฉบับเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test for Dependent Group และ t-test for One Sample)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางด้านความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง First Day at School ด้วยวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางด้านความสามารถในการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เรื่อง First Day at School ด้วยวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ที่กำหนดไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ก็ก่อ พิสุทธิ์ และกัลยรัตน์ ชาวันดี. (2561). การพัฒนาทักษะการออกเสียงภาษาอังกฤษ โดยใช้ชุดฝึกทักษะโฟนิกส์ออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา. สืบค้นจาก http://www.ska2.go.th/reis/data/research/25620911_150656_0997.pdf

คำพันธ์ แสนสุข. (2556). การศึกษาการเรียนรู้การฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ด้วยวิธีการสอนแบบการตอบสนองด้วยท่าทาง โรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทองในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต, กรุงเทพฯ.

เฉลิมลาภ ทองอาจ. (2555). ก้าวสู่ประชาคมอาเซียน: การจัดการศึกษาบนบริบทแห่งความท้าทาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(3), 107-118.

โชติกานต์ ใจบุญ. (2559). กลยุทธ์การจำและการสอนภาษาจีน. สืบค้นจาก https://www.shorturl.asia/BgrqU

ซีรีน ชุมวรฐายี. (2557). ประสิทธิผลของการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทางต่อการเรียนรู้คำศัพท์และความคงทนในการจดจำคำศัพท์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ธัญญะ บุปผเวส. (2534). จิตวิทยาเบื้องต้น. ขอนแก่น : ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปุณยวีร์ จิโรภาสวรพงศ์, วรวรรณ เหมชะญาติ, และดวงกมล ไตรวิจิตรคุณ. (2562). การพัฒนากรอบแนวคิดของรูปแบบการจัดประสบการณ์ โดยบูรณาการการสลับภาษาและวิธีการสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง เพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 47(2), 184-201.

พระมาวินกาญฺจโน (โทแก้ว), ชวาล ศิริวัฒน, และ พระวิเทศพรหมคุณ. (2561). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการปฏิบัติ เรื่อง การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหัวบึงทุ่ง เขตการทางนครราชสีมาสงค์เคราะห์ 3 จังหวัดนครพนม. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 5(1), 80-88.

วารุณี ศิริ. (2559). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (TPR) ที่มีผลต่อทักษะการฟัง และการพูดภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม. สืบค้นจาก https://www.shorturl.asia/BYckg

ศิริพร พละโชติ. (2561). การศึกษาความสามารถในการฟังและการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.

อรอุมา เพชรนุ้ย. (2556). การศึกษาความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน จากการใช้วิธีสอนอ่านเป็นคำร่วมกับเทคนิค Picture Me Reading (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Kuder, G. & Richardson, M. (1937). The Theory of Estimation of Test Reliability. Retrieved from https://link.springer.com/article/10.1007%2FBF02288391

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

How to Cite

Share |