การพัฒนาจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย โดยการจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงการโรงเรียนโสมาภาพัฒนา

ผู้แต่ง

  • นารวี อิ่มศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
  • จอมสุรางค์ ลิมป์ประเสริฐกุล วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ปิยลักษณ์ อัครรัตน์ วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

การพัฒนาจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อม , การจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงการ (Project Approach) โรงเรียนโสมาภาพัฒนา เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง  (Quasi  Experimental  Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  ได้แก่ เด็กปฐมวัยชายและหญิงอายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่  2  ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนโสมาภาพัฒนา กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้หน่วยห้องเรียนมีจำนวน 4 ห้อง ทุกห้องเรียนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน เลือกมา 1 ห้องเรียน จำนวน 26 คน ซึ่งผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองโดยอาศัยการวิจัยแบบการทดลองกลุ่มเดียว ทดสอบก่อน และหลังการทดลอง ผู้วิจัยได้ทำการสังเกตและเก็บข้อมูลการมีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย ในขณะจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เพื่อเป็นข้อมูลก่อนการทดลอง เป็นเวลา 1 สัปดาห์  2) ดำเนินการทดลองตามแผนการจัดกิจกรรมแบบโครงการ (Project Approach) จำนวน 4 แผน  เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ และใช้แบบสังเกตจิตสำนักรักสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย เมื่อครบ 8 สัปดาห์ 3) เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลองโดยใช้การจัดกิจกรรมการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เด็กปฐมวัยมีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.

กิตติภูมิ มีประดิษฐ์. (2553). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

นภเนตร ธรรมบวร. (2545). การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุชจรีย์ ม่วงอยู่. (2552). การจัดประสบการณ์แบบโครงการเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในเด็กปฐมวัย. วารสารการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 28-33.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). ประมวลสาระชุดวิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 1-6 Provision 0f Experiences for Preschool Children (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัฒนา มัคคสมัน. (2554). การสอนแบบโครงการ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมสุดา มัธยมจันทร์. (2544). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยการใช้การสอนแบบโครงการ ในโรงเรียนอนุบาล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 (สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เสาวนีย์ จันทร์ที. (2546). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากธรรมชาติตามรูปแบบจิตปัญญาที่มีต่อการรับรู้การมีจิตสำนึกรักสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สุดาเรศ แจ่มเดชะศักดิ์. (2543). การพัฒนาโปรแกรมสิ่งแวดล้อมศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล โดยใช้แนวการสอนแบบผูกเป็นเรื่องราว (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อุไรวรรณ คุ้มวงษ์. (2551). จิตสาธารณะของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ เรื่อง ปัญหาสิ่งแวดล้อม ตามโครงการพระราชดำริ (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-01

How to Cite

Share |