การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • กานต์เพชร วิชัยวงษ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ปาริชาติ ประเสริฐสังข์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • ทนันยา คำคุ้ม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์, ทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด, การจัดการเรียนรู้

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ดโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด 4 แผน รวมเวลา 12 ชั่วโมง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 101 เฉลิมพระเกียรติ อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ดที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 6 คน โดยเลือกแบบวิธีเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน รวมเวลา 12 ชั่วโมง โดยค่าความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 3.77 2) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ เป็นแบบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ มีทั้งหมด 4 กิจกรรม ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 0.81 และ 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคลชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  
ผลการวิจัยพบว่า ในวงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 50 ของนักเรียนทั้งหมด และวงจรปฏิบัติการที่ 2 ที่ได้รับการพัฒนาปรับปรุงแก้ไขจากวงจรปฏิบัติการที่ 1 พบว่า นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 เพิ่มขึ้น จำนวน 3 คน รวมการพัฒนาทั้ง 2 วงจรปฏิบัติการพบว่า นักเรียนมีคะแนนความคิดสร้างสรรค์ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและหลักสูตรแกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด : การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

ทิพย์บุบผา สาคร. (2546). การศึกษาการพัฒนาการความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ที่ฝึกด้วยแบบฝึกความคิดอเนกนัยด้านสัญลักษณ์ในแต่ละผลผลิตตามแนวทฤษฎีของกิลฟอร์ดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

บุญณิตา จิตรีเชาว์. (2560). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยใช้แบบฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 8(1), 144-151.

ปาริชาติ ประเสริฐสังข์. (2559). การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(3), 129-140.

เมริกา ตรรกวาทการ. (2556). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 101 เฉลิมพระเกียรติ. (2562). รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา (Self-Assessment Report) ปีการศึกษา 2562. ร้อยเอ็ด: โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 101 เฉลิมพระเกียรติ.

วรรณจรีย์ มังสิงห์. (2549). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วีณา ประชากูล และประสาท เนืองเฉลิม. (2554). รูปแบบการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). คู่มือรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ.

สมพร ตอยยีบี. (2554). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนเซนต์เทเรซา หนองจอก กรุงเทพฯ (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Guilford, J. P. (1959). Personality. New York: Mcgran Hill Book.

Guilford, J. P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill Book.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-13

How to Cite

Share |