การยกระดับความสามารถในการเรียนรู้จากการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • กิติพงษ์ ลือนาม คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • รุ่งโรจน์ พงศ์กิจวิทูร คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • แสงเพชร พระฉาย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กฤติกา เผื่อนงูเหลือม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน, ความสามารถในการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน และพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษา ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังศึกษาปีการศึกษา 2563 จำนวน 210 คน และอาจารย์ 32 คน ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis & McTaggart (1990) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์มีความเหมาะสมมาก และมากที่สุด สื่อที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ Zoom, Microsoft Team, Youtube, Google Meet, LMS NRRU, Line อาจารย์ส่วนใหญ่ใช้สื่อแบบเดียว ไม่หลากหลาย ส่วนผลการสะท้อนการเรียนรู้ของอาจารย์ผู้สอน พบว่า อาจารย์ผู้สอนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างได้รับความรู้ เทคนิค นวัตกรรมการสอนที่หลากหลายได้พัฒนาตนเอง ได้รับความรู้ใหม่ และได้พัฒนาตนเอง ตลอดจนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น 2) ผลการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}= 4.35, S.D. = 0.31) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความสามารถของอาจารย์ในด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.26, S.D. = 0.34) ส่วนความสามารถของอาจารย์ ด้านการจัดบรรยากาศในการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}  = 4.40, S.D. = 0.28)  เช่นกัน 3) ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาทั้ง 6 วิชา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอีก 1 รายวิชาวัดผลตลอดทั้งภาคเรียน และมีคะแนนผลการเรียนสูงกว่าร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และความพึงพอใจของนักศึกษา พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกวิชา(gif.latex?\bar{X} = 3.85 ถึง 4.50) และ 4) ความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการวิจัยและผลการสะท้อนการเรียนรู้ของอาจารย์ พบว่า อาจารย์ผู้สอนมีความพึงพอใจโดยรวมต่อโครงการวิจัยที่ได้เข้าร่วมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} = 4.48, S.D. = 0.35) การสะท้อนการเรียนรู้ของอาจารย์ พบว่า ความรู้ความเข้าใจในนวัตกรรมการสอนแบบผสมผสาน ก่อนเข้าร่วมส่วนใหญ่มีความรู้และความเข้าใจในนวัตกรรมการสอนน้อยแต่หลังเข้าร่วม พบว่า มีความรู้ความเข้าใจการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานและสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการใช้นวัตกรรมจากเพื่อนอาจารย์มีมากขึ้น

References

ธนกร ขันทเขตต์, ฤทธิชัย อ่อนมิ่ง, รัฐพล ประดับเวทย์, และสมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานโดยเน้นคุณลักษณะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำหรับนิสิตระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ (ฉบับพิเศษ), 10, 43-58.

ธีรวดี ถังคบุตร. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานเพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนิสิตปริญญาบัณฑิต. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 61-69.

ภาสกร เรืองรอง, ประหยัด จิระวงพงศ์, วณิชชา แม่นยำ, วิลาวัลย์ สมยาโรน, ศรันยู หมื่นเดช, และชไมพร ศรีสุราช. (2557). เทคโนโลยีการศึกษากับครูไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารปัญญาภิวัฒน์ (ฉบับพิเศษ), 5, 195-207.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่ เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: พิมพ์ลักษณ์.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1990). The Action Research Planner. Geelong: Deakin University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-13

How to Cite

Share |