การจัดกิจกรรมตามแนวคิดของโปรแกรมมาทาล เพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • กมลชนก สุจริต คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • จอมสุรางค์ ลิมป์ประเสริฐกุล วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ปิยลักษณ์ อัครรัตน์ วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ทักษะการสังเกต, การจัดกิจกรรมตามแนวคิดของโปรแกรมมาทาล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามแนวคิดของโปรแกรมมาทาล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัยชายและหญิง อายุ 3-4 ปี ที่เรียนชั้นอนุบาลที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่มด้วยวิธีการเลือกห้องเรียนมา 1 ห้องจาก 2 ห้องเรียน เด็กปฐมวัยในแต่ละห้องมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จำนวน  24  คน  ผู้วิจัยสังเกตทักษะการสังเกตของกลุ่มตัวอย่างก่อนการทดลองจากการจัดการเรียนรู้ปกติเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบสังเกตทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้นำมาหาคุณภาพเครื่องมือโดยเสนอผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ 0.95 จึงอยู่ระดับที่เชื่อถือได้ โดยเครื่องมือประกอบไปด้วยแผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดของโปรแกรมมาทาล จำนวน 32 แผน และดำเนินการจัดกิจกรรมตามแนวคิดของโปรแกรมมาทาลเพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 20-30 นาที รวมทั้งสิ้น 32 ครั้ง และได้ทำการสังเกตของเด็กปฐมวัย หลังการทดลอง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลอง ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการจัดกิจกรรมตามแนวคิดของโปรแกรมมาทาล แล้วเด็กปฐมวัยมีทักษะการสังเกตสูงขึ้นทุกคน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). รูปแบบการเรียนการสอนปฐมวัยศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชุติมา วัฒนะคีรี. (ม.ป.ป.) กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นภเนตร ธรรมบวร. (2545). การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นุช เล็กประโคน. (2558). ผลการจัดกิจกรรมแบบปฏิบัติการทดลองที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 2 “อิสาณธีรวิทยาคาร” จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.

ปิยนุช แข็งกสิการ. (2561). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนก ประเภทของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, นครสวรรค์.

ภพ เลาหไพบูลย์. (2542). แนวการสอนวิทยาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชย์.

มณีรัตน์ สุกโชติรัตน์. (2555). อ่านเป็น : เรียนก่อนสอนเก่ง. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 – 2580 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ, สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2553). การวัดและประเมินแนวใหม่: เด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อัญชลี ไสยวรรณ. (2554). การพัฒนาความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนการสืบค้นเป็นกลุ่ม ในรายวิชา การพัฒนาทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2553 (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.

เอราวรรณ ศรีจักร. (2550). การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-13

How to Cite

Share |