รูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
คำสำคัญ:
รูปแบบ, การพัฒนาทักษะ, การบริหารในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะและแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ตอน ได้แก่ตอนที่ 1 ศึกษาทักษะและแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษ ที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 314 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.943 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ที่มีแนวปฏิบัติที่ดี ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 โดยนำผลจาก ตอนที่ 1 มาใช้เป็นหลักในการพัฒนารูปแบบและจัดประชุมกลุ่มสนทนา ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของร่างรูปแบบที่สร้างขึ้น และตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์
ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะและแนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ทักษะด้านเทคนิค และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทักษะด้านการตัดสินใจ แนวทางการพัฒนา ใช้การพัฒนาเป็นกลุ่ม (Group) โดยองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) รูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการและเหตุผลของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) สาระสำคัญและการดำเนินการพัฒนา (4) แนวทางการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ และ (5) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์รูปแบบการพัฒนาทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 อยู่ในระดับมากที่สุด
References
กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, นครปฐม.
กาญจนาภา กลิ่นละออ. (2551). แนวทางการเสริมสร้างทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครปฐม (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.
จักรกฤษณ์ สิริริน. (2562). Innovation Management ติดปีกสถานศึกษาสู่ยุค 5.0. สืบค้นจาก http://www.salika.co/2019/09/05/Innovation-Management-educational-5-0-era/
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น สู่ประชาคมอาเซียน: ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, ประเทศไทย.
ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2548). สู่ทิศทางใหม่ของการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ก้าวใหม่.
ทวีชัย เกียรติสกุลศรี. (2563). การศึกษาระดับปัจจัยการบริหารสถานศึกษาและระดับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2549). ผู้นำพันธ์แท้ ชุด มุขบริหารสู่การเป็นผู้นำ เล่ม 2. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
ประสิทธิ์ เขียวศรี. (2544). การนำเสนอแบบจำลองการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2548). การนิเทศการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.
พยอม วงศ์สารศรี. (2551). องค์การและการจัดการ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุภา.
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2549). การจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
วีนัส ม่านมุ่งศิลป์. (2559). รูปแบบการพัฒนาทักษะทางการบริหารของผู้บริหารระดับสูง ในเขตนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, นครราชสีมา.
สรรฤดี ดีปู่. (2553). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของอาจารย์ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, นครราชสีมา.
สุบัน มุขธระโกษา, ศศิรดา แพงไทย, และเอกอนันต์ สมบัติสกุลกิจ. (2561). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 453-461.
สุเทพ เชาวลิต. (2556). นักบริหารทันสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2553). ทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา. เอกสารประกอบการบรรยาย. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. นครราชสีมา.
Bartol, K. M., & Martin, D. C. (1994). Management (2nd ed). New York: McGraw-Hill.
Drake, T. L., & Roe, W. H. (2003). The Principalship. Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Ejimofor. (2007). Principals’ Transformational Leadership Skills and Their Teachers’ Job Satisfaction in Nigeria (Doctoral Dissertation), Cleveland State University, U.S.A.
Griffin, R. W. (2013). Management: Principles and Practices (11th ed). Canada: Nelson Education.
Harris, B. M., (1975). Supervisory Behavior in Education. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
National Association of Secondary School Principals (NASSP). (2013). Breaking Ranks: 10 Skills for Successful School Leaders Executive summary. Retrieved from http://www.nassp.org/Content/158/BR_tenskills_ExSum.pdf
Steers, M. R. (1985). Efektrivitas Organisasi. Jakarta: Erlangga.
Truelove, S. (1992). Handbook of Training and Development. Oxford: Blackwell.
Yang, P. (2011). A Literature Review of the Skills Pequired by 21st Century School Administrators. Canada: Athbasca University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.