รูปแบบการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พชร ยังให้ผล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • วรสิทธิ์ รัตนวราหะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

รูปแบบการนิเทศ, ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, ครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครูผู้สอนนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ และ 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและความต้องการการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครูผู้สอนนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา จำนวน 376 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 ขั้นตอนที่ 2 การร่างและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครูผู้สอนนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยจัดประชุมกลุ่มสนทนากับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับครูผู้สอนนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้สอนนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา จำนวน 50 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)

          ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับปานกลาง และความต้องการการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมาก 2) ความเหมาะสมของรูปแบบการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการนิเทศโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับครูผู้สอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: สยามสปอรต์ ซินดิเค.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์ของคนพิการทางการศึกษา พุทธศักราช 2552. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ดารณี ศักดิ์ศิริผล. (2556). การศึกษาภาวะสมาธิสั้นในเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ในเขตกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ

นิชาภัทร วิลเลี่ยม และฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2560). การพัฒนาการนิเทศภายในโดยใช้กระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สักทอง วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(2), 120-136.

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2561). ขอบฟ้าใหม่แห่งการเรียนรู้สู่การสร้างอนาคต. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2550). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สุกัญญา ลิ้มเจริญ. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เพื่อส่งเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนเทศบาล 3 (วัดบ้านอ้อย). วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร.วิทยาเขตอีสาน, 1(3), 23-37.

อธิศ ไชยคิรินทร์. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในโดยใช้ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

DuFour, R., & Eaker, R. (1998). Professional Learning Communities at Work: Best Practices for Enhancing Student Achievement. Bloomington, IN: National Educational Service.

Sergiovanni, T. J. (1994). Organizations or Communities? Changing the Metaphor Changes the Theory. Educational Administration Quarterly, 30, 214-226.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-13

How to Cite

Share |