การพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4-H ของโรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการสื่อสาร, การจัดประสบการณ์, แนวคิด 4-H, เด็กปฐมวัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบพฤติกรรมการสื่อสารของเด็กปฐมวัยก่อนและระหว่างได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4-H 2) ศึกษาแนวโน้มพฤติกรรมการสื่อสารของเด็กปฐมวัย ระหว่างได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4-H ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 4 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้นจำนวน 120 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุ 5-6 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3/4 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยสุ่มแบบแบ่งกลุ่มทุกห้องเรียนมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสมัครใจ จำนวน 15 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้การวิจัยแบบกึ่งทดลอง แผนการทดลองแบบอนุกรมเวลากลุ่มเดียว (One-Group Time-Series Design) ระยะเวลาในการทดลอง 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือ วันจันทร์ อังคาร พุธ วันละ 45 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4-H และแบบสังเกตพฤติกรรมการสื่อสารของเด็กปฐมวัย มีค่าความเชื่อมั่นที่ .96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (one–way Repeated–Measures ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมการสื่อสารระหว่างการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4-H สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพฤติกรรมการสื่อสารของเด็กปฐมวัยระหว่างได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวคิด 4-H มีแนวโน้มสูงขึ้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การจัดการเรียนการสอนที่เนนผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. เอกสารชุดแนวทางปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
กอบกาญจน์ วงค์วิสิทธิ์. (2551). ทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนพร มะยมหิน. (2556). การพัฒนาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะการคิดแสวงหาความรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านคลองบัว (เอี่ยมแสงโรจน์) (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
บุณยณัฐ ไตรรัตน์. (2556). การพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานโดยใช้เทคนิควาด พับ และตัด ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลนครรังสิต (รัตนโกสินทร์) จังหวัดปทุมธานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
เบญจมาศ จันทร์โคตร. (2558). การพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 5E โรงเรียนทานสัมฤทธิ์วิทยา จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
ประภากร ปาริฉัตรมงคล. (2555). การพัฒนาพฤติกรรมการสื่อสารของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมละครเกี่ยวกับตํานานของจังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, กรุงเทพฯ.
ภัทรดรา พันธุ์สีดา. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ SPARPS เพื่อเสริมสร้างทักษะทางภาษาของเด็กปฐมวัย (ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
ภัสวลี นิติเกษตรสุนทร. (2556). ทฤษฎีและพฤติกรรมการสื่อสาร เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 11). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
โรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม. (กันยายน, 2563). หนังสือเขียนรายงานการประชุมโรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม. การจัดประชุมโดย โรงเรียนอนุบาลวัดพิชัยสงคราม จังหวัดสมุทรปราการ.
วรนาท รักสกุลไทย และนฤมล เนียมหอม. (2555). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ด้านภาษา ใน ประมวลสาระชุดวิชา การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัฒนา ปุญญฤทธิ์. (2553). การศึกษาสภาพงานวิจัยด้านการศึกษาปฐมวัย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.
ศตพร ศรีทิพย์. (2558). ผลของการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดการสอนแบบ 4-H ที่มีต่อคุณลักษณะภาวะผู้นำของเด็กอนุบาล (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
โอภส์ แก้วจําปา. (2547). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
Bybee, R. W., Taylor, J. A., Gardner, A., Scotter, P.V., Powell, J. C., Westbrook, A. & Landes. (2006). The BSCS 5E Instructional model: Origins and Effectiveness. Colorado Springs, CO: BSCS.
Jones, J. E. & Pfeiffer, W. (1973). The 1973 Annual Handbook for Group Facilitators. San Diego, CA: Pfeiffer & Company.
Kolb, D. A. (1984). Experiential learning: Experience as the Source of Learning and Development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Kolb, D.A. (1984): Experiential learning: experience as the source of learning and development. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Moon, J. A. (2004). A Handbook of Reflective and Experiential Learning: Theory and Practice. London: Routledge Falmer.
University of Florida. (2011). Florida 4-H Cloverbuds a Guide for Programming for staff and Volunteers. Retrieved from http://edis.ifas.ufl.edu/pdffiles/4H/4H31700.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.