แนวทางการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้เป็นทีมในชั้นเรียน

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนภา น้อมสูงเนิน คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • พวงเพ็ญ อินทรประวัติ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้, การเรียนรู้เป็นทีม, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ห้องเรียนกลับด้าน

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้เป็นทีมเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้แนวสร้างสรรค์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่ผสมผสานลักษณะของ ห้องเรียนกลับด้านและการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียนเข้าด้วยกัน ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในวงการการศึกษาเกือบทั่วโลก โดยเฉพาะในวงการแพทย์และการจัดการศึกษาให้กับครู แต่ในประเทศไทยการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้อยู่ในวงจำกัด ส่วนใหญ่อยู่ในวงการแพทย์ ส่วนในวงการการจัดการศึกษาให้กับครูนั้นมีการนำไปใช้บ้างไม่มากนัก วัตถุประสงค์หลักของบทความนี้ คือ เพื่อนำเสนอแนวทางการใช้รูปแบบการสอนแบบเรียนรู้เป็นทีมในชั้นเรียนให้เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้สอนในสถาบันการศึกษาไทย รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเรียนรู้เป็นทีม เป็นแนวทางการสอนที่มิเชลสัน (LK. Michaelson) พัฒนาขึ้นมาใช้สอนในสาขาวิชาบริหารธุรกิจในช่วงต้นของปี ค.ศ. 1990 ลักษณะเฉพาะของรูปแบบการจัดการเรียนรู้นี้อยู่ที่การจัดลำดับการสอนของหน่วยการเรียนเรียงต่อกัน 3 ขั้นตอน ซึ่งเมื่อนำไปใช้ในชั้นเรียน ผู้เรียนและผู้สอนจะมีบทบาทเฉพาะ ดังนี้ ในขั้นที่ 1 ผู้เรียนแต่ละคนเตรียมความพร้อมก่อนเรียนโดยทำงานที่ได้รับมอบหมาย โดยครูจะออกแบบภาระงานที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของหน่วยการเรียนสำหรับให้ผู้เรียนศึกษาก่อนเป็นการล่วงหน้า ขั้นที่ 2 เมื่อเข้าชั้นเรียนในวันแรก ผู้เรียนจะกิจกรรมการเรียน 4 ประการ ดังนี้ 1) ผู้เรียนแต่ละคนทำข้อสอบ 2) การทำข้อสอบเดิมเป็นทีม 3) การสอบแก้ตัวเป็นทีม และ 4) การรับข้อมูลย้อนกลับจากครู เฉพาะในบางประเด็นที่ไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย ในขั้นที่ 3 ผู้เรียนทำงานเป็นทีมเพื่อฝึกแก้ปัญหาที่สำคัญต่อตัวผู้เรียนโดยต้องประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียน ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ของหน่วยการเรียนนั้น ๆ โดยครูมีหน้าที่ออกแบบหน่วยการเรียนโดยอาศัยหลักการแบบย้อนกลับของวิกกิ้นส์และแมคไทธ์ และจัดทำงานที่มอบหมายที่มีลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ การแก้ปัญหาสำคัญด้วยกันเป็นทีม การแก้ปัญหาเดิมเป็นทีม ทีมตัดสินใจเลือกคำตอบที่ดีที่สุดจากตัวเลือกที่ให้ และทุกทีมรายงานผลการเลือกคำตอบพร้อมกัน

References

ประเวศ วะสี. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้: ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ปานทิพย์ ผ่องอักษร. (2561). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 : ถอดบทเรียนการใช้ห้องเรียนกลับทาง. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2), 47-54.

มณีรัตน์ พันธุ์สวัสดิ์, ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ, วรภรณ์ ทินวัง, สิริอร พัวศิริ, พฤพร พงษ์คุณากร,ประภาศรี ทุ่งมีผล, และวินัย รอบคอบ. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้แบบทีมเป็นฐานต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดอย่างมี วิจารณญาณ ทักษะการทำงานเป็นทีม และความพร้อมในการเรียนรู้แบบนําตนเองของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 16(2), 92-102.

วิจารณ์ พานิช. (2559). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสยามกัมมาจล.

วีรวัฒน์ ทางธรรม และอัมพร เที่ยงตรงดี. (2563). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานต่อความรู้และการทำงานเป็นทีม ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ, 1(1), 1-9.

สมจิตต์ สินธุชัย, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, และกุลธิดา พานิชกุล. (2563). การเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน: การนําไปใช้ในการเรียนการสอน. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 36(3), 273-283.

สมพิศ ใยสุ่น, ปรียารัตน์ รัตนวิบูลย์, และชลดา จันทร์ขาว. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานต่อความรู้และการรับรู้ผลการเรียนรู้ เรื่อง การพยาบาลมารดาและครอบครัวในระยะตั้งครรภ์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 9(2), 73-87.

สายสุดา ปั้นตระกูล. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนของผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินและผู้เรียนปกติ. วารสารร่มพฤกษ์, 38(2), 36-48.

สุธิดา สัมฤทธิ์ และปานทิพย์ ผ่องอักษร. (2561). การเรียนแบบใช้ทีมเป็นฐานในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต. Ramathibodi Medical Journal, 41(2), 135-142.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (ม.ป.ป.). Digital Literacy Project. https://www.ocsc.go.th/DLProject/mean-dlp

Birmingham, C. & McCord, M. (2004). Group Process Research: Implications for Using Learning Groups. In L. K. Michaelsen, A. B. Knight, L. D. Fink (eds.), Team-Based Learning: A Transformative Use of Small Groups in College Teaching. Stylus.

Hattie, J. & Timperley, H. (2007) The Power of Feedback. Review of Educational Research, 77(1), 81–112.

Mayer, R. E. (2002). Rote Versus Meaningful Learning. Theory into Practice, 41(4), 226–232.

Michaelsen, L. K., Knight, A. B. & Fink, L. D. (2004). Team-Based Learning: A Transformative Use of Small Groups in College Teaching. New York: Stylus.

Michaelsen, L. & Richards, B. (2005). Drawing Conclusions from the Team-Learning Literature in Health-Sciences Education: A Commentary. Teaching and Learning in Medicine: An International Journal, 17(1), 85-88.

Michaelsen, L. K. & Sweet, M. (2008). The Essential Elements of Team‐based Learning. New Directions for Teaching and Learning, 2008(116), 7-27.

Michaelsen, L., Sweet, M., & Parmalee, D. (2011). Team-Based Learning: Small – group Learning’s Next Big Step: New Directions for Teaching and Learning. New York: Wiley.

Parmelee, D., Michaelsen L. K., Cook. S, & Hudes P. D. (2012). Team-based Learning: a Practical Guide: AMEE Guide No. 65. Med Teach. 34(5), 275-287.

Pintrich, P. R. (2002). The Role of Metacognitive Knowledge in Learning, Teaching, and Assessing. Theory into Practice, 41(4), 219–225.

Watson, W. E., Michaelsen, L. K. & Sharp, W. (1991). Member Competence, Group Interaction, and Group Decision Making: A Longitudinal Study. Journal of Applied Psychology, 76(6), 803–809. https://doi.org/10.1037/0021-9010.76.6.803

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13

How to Cite

Share |