การพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

ผู้แต่ง

  • กมลชนก บูรณะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

องค์ประกอบ, ตัวบ่งชี้, ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา รองผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 จำนวน 570 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งเป็นชั้นภูมิ แบบไม่เป็นสัดส่วนกับขนาดของกลุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้และแบบสอบถามเพื่อการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA)

ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษามี 8 องค์ประกอบ 63 ตัวบ่งชี้ และมีผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_cm&space;x\bar{}=4.61,S.D.=1.88) ด้านการให้ความเคารพผู้อื่น มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดเป็นลำดับแรก ( gif.latex?\fn_cm&space;x\bar{}=4.66,S.D.=2.02) รองลงมาได้แก่ ด้านการให้บริการผู้อื่นมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\fn_cm&space;x\bar{}=4.64,S.D.=1.93) และด้านการมีวิสัยทัศน์ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\fn_cm&space;x\bar{}=4.55,S.D.=1.82) เป็นลำดับสุดท้าย และ2) การวิเคราะห์ความสอดคล้องขององค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับข้อมูลเชิงประจักษ์   มีผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสังเกตได้มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันระหว่าง -0.003 ถึง 0.884มีค่าแตกต่างจากศูนย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และโมเดลการวัดภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยพิจารณาจาก ค่า gif.latex?\fn_cm&space;\chi&space;^{2}= 803.610, df = 218, p-value = 0.00, CFI =0.94, GFI = 0.90, RMR  = 0.02, RMSEA = 0.07

References

กนกพร รัตนะอุดม และอำนวย ทองโปร่ง. (2565). ความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตเสรีไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 9(1), 13-24.

กนกอร สมปราชญ์. (2555). ภาวะผู้นำ : แนวคิด ทฤษฎีและการพัฒนา. ขอนแก่น: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2556. (2556, 19 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. (เล่มที่ 130 ตอนพิเศษ 130 ง. น.72-74).

จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์. (2559). ภาวะผู้นำการให้บริการสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา. วารสารวิชาการสมาคม สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 22(1), 141-154.

จำเริญรัตน์ จิตต์จิรจรรย์. (2561). ขอบฟ้าใหม่ของภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม สำหรับผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ : มิติทางจริยศาสตร์. นครราชสีมา: สมบูรณ์การพิมพ์.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล : สถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรา สมประสงค์. (2561). หน่วยที่ 14 ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม, ใน ประมวลสาระชุดวิชานวัตกรรมการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เนชั่น. (2565). แฉพฤติกรรม “ผอ.โรงเรียน”ใช้ครูเยี่ยง “ทาส” สั่งให้อาหารสุนัข-ซักเสื้อผ้า. สืบค้นจาก https://www.nationtv.tv/news/378864010

ประชุม โพธิกุล. (2550). ความกล้าทางจริยธรรมของผู้นำทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาผู้บริหารการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์.

พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562. (2562, 16 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. (เล่มที่ 136 ตอนที่ 50 ก. น.2).

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2553). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. (เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก. น.20).

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2559). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัษฎากร ประสาท และสถิรพร เชาวน์ชัย. (2566) ความต้องการจำเป็นและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของหัวหน้าฝ่ายวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 10(1), 100-109.

วีรวุฒิ มาฆศิรานนท์. (2554). ธุรกิจส่วนตัว SMEs คุณทำได้. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.

สงวนพงศ์ ชวนชม. (2557). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2559. สืบค้นจาก http://www.petburi.go.th/web/index.php?option=com_content&view=article&id=550:-2559&catid=37:2012-11-08-09-01-22

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562. นนทบุรี: ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุเทพ ปาลสาร. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

หนูไกร มาเชค. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Berghofer, D., & Schwartz, G. (2008). Ethical Leadership: Right Relationships and the Emotional Bottom Line the Gold Standard for Success. Retrieved from http://www.newparadigmjournal.com

Brown, M. E., Treviño, L. K., & Harrison, D. A. (2005). Ethical Leadership: A Social Learning Perspective for Construct Development and Testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, pp.117–134.

Grace. (2014). The Four V’s of Ethical Leadership. Retrieved from http://sites.psu.esu.edu/leadership/du/leadership/2014/04/27/the-four-vs-of-ethical-leadership

Hosmer, L. T. (1995). Trust: The Connecting Link Between Organizational Theory and Philosophical Ethics. The Academy of Management Review, 20(2), pp.379-403.

Josephson, M. (2009). Ethical Leadership Outcomes Student Leader Learning Outcomes (SLLO) project. Retrieved from http://josephsoninstitute.org

Mowbray, D. (2009). Code of Conduct for Ethical Leadership a Discussion Document. Retrieved from http://www.derekmowbray.co.uk

Northouse, P. G. (2013). Leadership: Theoty and Practice. (6 th ed). California: SAGE Publications.

Northouse, P. G.(2016). Leadership: Theory and Practice (7 th ed). California: SAGE Publications.

Northouse, P. G., & Lee, M. (2016). Leadership Case Studies in Education. California: SAGE Publication.

Sergiovanni, T. J. (1992). Moral Leadership: Getting to the Heart of School Improvement. San Francisco, CA: Jossey Bass.

Sheive, L. T. & Schoenheit, M. B. (1978). Vision and the Work Life of Educational Leaders in Leadership. Dissertation Abstracts International, 45, 98-100.

Starrat, R. (2005). Ethical Leadership. in the Essential of School Leadership. edited by David, Brent. London: Paul Chapman Publishing.

Thongkamhaeng, K. (2012). Strategies for the Development of Moral Leadership for Private School Administrators (Doctoral Dissertation Educational Administration) Chulalongkorn University, Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-17

How to Cite

Share |