การพัฒนาบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องโขนวิทยา ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในฐานวิถีชีวิตใหม่

ผู้แต่ง

  • ประวิทย์ ฤทธิบูลย์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • มาโนช บุญทองเล็ก คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • พิสิษฐ์ บัวงาม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • โสฬส มงคลประเสริฐ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

บทเรียนออนไลน์, การเรียนรู้แบบออนไลน์, โขนวิทยา, ฐานวิถีชีวิตใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและวิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องโขนวิทยา ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา ในฐานวิถีชีวิตใหม่ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนออนไลน์ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการใช้บทเรียนออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชานาฏศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม ซึ่งลักษณะภายในกลุ่มตัวอย่างมีความคล้ายคลึงกัน โดยใช้หน่วยสุ่มเป็นห้องเรียนที่นักศึกษาลงทะเบียนเรียนในรายวิชา 07211001 โขนวิทยา ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีการประเมินคุณภาพและความเหมาะสม ประกอบด้วย 1) บทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อ งโขนวิทยา มีค่าเฉลี่ย 4.77 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.54 อยู่ในระดับมากที่สุด 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ มีค่าเฉลี่ย 4.56 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.44 อยู่ในระดับมากที่สุด 3) แบบทดสอบก่อนและหลังการใช้บทเรียนออนไลน์ มีค่าเฉลี่ย 4.86 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 อยู่ในระดับมากที่สุด และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการใช้บทเรียนออนไลน์ มีค่าเฉลี่ย 4.60 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.50 อยู่ในระดับมากที่สุด สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ

ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องโขนวิทยา ประกอบไปด้วยทั้งหมด 7 บทเรียน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์เฉลี่ยเท่ากับ 87.19/83.15 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 17.95 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.56 มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 23.31 มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.89 โดยการวิเคราะห์ค่าที ผลสัมฤทธิ์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนเท่ากับ 13.60 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความพึงพอใจของผู้เรียนหลังการใช้บทเรียนออนไลน์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่องโขนวิทยา ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในฐานวิถีชีวิตใหม่ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.54 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์, นงเยาว์ อุทุมพร, กุลชลี จงเจริญ และ ฐิติกรณ์ ยาวิไชย. (2564). รายงานการศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขธิการสภาการศึกษา.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2532). เทคโนโลยีการสอนการออกแบบและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ทิพยสุดา สวัสดีพร และสุมาลี สุนทรา. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการเรียนรู้แบบนำตนเอง เรื่อง การใช้ Application Nearpod สำหรับนักศึกษาครู ระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 The 13th NPRU Conference (น.796-804). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม.

ธีระยุทธ์ หมันหลี. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่อง การประเมินพัฒนาการเด็กตามคู่มือเฝ้าระวังและเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย สำหรับนิสิตแพทย์. (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นฤมล พุ่มฉัตร์. (2551). การพัฒนาพนักงานขององค์กรแห่งการเรียนรู้. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.

เบญจพร ตีระวัฒนานนท์, ดวงพร ธรรมะ, และดำรัส อ่อนเฉวียง. (2563). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ตามแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง การสร้างภาพกราฟิก โดยโปรแกรมนำเสนอ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 2(2), 16-30.

พงษ์นที ศิลาอาศน์. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน วิชาสถิติและการประยุกต์ทั่วไป เรื่อง การทดสอบสมมติฐาน สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายัน, และ จรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(34), 285-298.

ศุภเศรษฐ์ พึ่งบัว. (2562). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ วิชาอินเทอร์เน็ตด้วยแอปพลิเคชัน Google Classroom สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุมาลี สุนทรา. (2564). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์โดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้ชิงรุกเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 19(2), 533-549.

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค New Normal COVID-19. วารสารรัชภาคย์, 15(40), 33-42.

Care, E., Griffin, P., &Wilson, M. (2018). Assessment and Teaching of 21st Century Skills. Educational Assessment in an Information Age. Springer, Cham. https://doi.org/10.1007/978-3-319-65368-6_1

Senge, P. M. (1990). The Art and Practice of the Learning Organization. London: Century Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-17

How to Cite

Share |