การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้แต่ง

  • สุชาดา กันธิพันธิ์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • ปริญญภาษ สีทอง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตร, การรู้เรื่องภูมิศาสตร์, กระบวนการทางภูมิศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาดัชนีประสิทธิผลหลักสูตรส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้หลักสูตรส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564  โรงเรียนสืบนทีธรรม จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หลักสูตรฯ คู่มือการใช้หลักสูตรฯ แบบทดสอบวัดความสามารถในการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีองค์ประกอบ 7 ประกอบ ได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร 3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4) โครงสร้างเนื้อหาหลักสูตร 5) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6) สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ และ7)การวัดและประเมินผล ซึ่งมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมของหลักสูตรอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{\chi&space;} = 4.34, S.D. = 0.73) คู่มือหลักสูตรมีความเหมาะสมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{\chi&space;}= 4.39, S.D. = 0.74) และค่าดัชนีระสิทธิผลของการเรียนตามหลักสูตร เท่ากับ 0.8382 2. นักเรียนที่เรียนด้วยหลักสูตรส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการรู้เรื่องภูมิศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กชพรรณ เขมเกื้อกูล และปริญญภาษ สีทอง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรเสริมการแก้ไขโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสาวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 10(1), 109-121.

กนก จันทรา. (2561). การจัดการเรียนรู้เพื่อการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ในวิชาสังคมศึกษา Learning Management for Geo-Literacy in Social Studies. สืบค้นจาก http://academic.obec.go.th/images/mission/1524627007_d_1.pdf

กิตติกวินท์ ปิ่นไชย และรัตติกาล สารกอง. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการรู้เรื่องภูมิศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 15(1), 29-42.

ณัฏฐโภคิณ ภูริวัฒนภูวดล และปริญญภาษ สีทอง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรหลักสูตรส่งเสริมการเห็นคุณค่าในตนเอง ตามแนวคิดจิตปัญญาศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 8(1), 24-33.

ปกรณ์ ประจัญบาน. (2553). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน (Advanced Statistics for Research and Evaluation) (พิมพ์ครั้งที่ 3). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสารภูมิศาสตร์ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และแนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ.

Kerski, J. J. (2015). Geo-awareness, Geo-enablement, Geotechnologies, Citizen Science, and Storytelling: Geography on the World Stage. Retrieved from http://dusk.geo.orst.edu/Pickup/Esri/Kerski-Geog-Compass.pdf

National Geographic Education. (2014). Geo-Literacy. Retrieved from https://education.nationalgeographic.org/resource/geo-literacy-preparation-far-reaching-decisions

Taba, H. (1962). Curriculum development: Theory and Practice. New York: Harcourt, Brace & World.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-17

How to Cite

Share |