ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • พนิตนาฏ เพชรสวัสดิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ชลาธิป สมาหิโต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, โครงงานเป็นฐาน, ทักษะการรู้เท่าทันสื่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานที่มีต่อทักษะการรู้เท่าทันสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา จำนวน 23 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือการวิจัย คือ แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน จำนวน 24 แผน แบบประเมินทักษะการรู้เท่าทันสื่อ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้เท่าทันสื่อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อสูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เด็กสามารถบอกเนื้อหาของสื่อและแหล่งข้อมูลของสื่อ สามารถบอกและแยกแยะเนื้อหาสาระที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นอย่างเป็นเหตุและผลได้ดีขึ้น เด็กสามารถเข้าใจภาษา อธิบายความหมายของข้อมูลในสื่อ ตัดสินและบอกความน่าเชื่อถือของเนื้อหาจากสื่อได้ดีขึ้น และยังสามารถนำข้อมูลต่าง ๆ มาออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานตามความคิดของตนเองเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้นด้วย

References

ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 113-129.

พีรวิชญ์ คำเจริญ และวีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2563). การศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัล และทักษะการรู้เท่าทันดิจิทัลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(1), 54-66.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สมพงษ์ จิตระดับ. (2562). คู่มือรู้เท่าทันสื่อออนไลน์และเฝ้าระวังสื่อไม่ปลอดภัยต่อเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ: เฟิสท์ ออฟเซท (1993).

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2553). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Malik, S. (2008). Media Literacy and its Importance. Retrieved from: https://library.fes.de/pdf-files/bueros/pakistan/06542.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-17

How to Cite

Share |