การประเมินความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของ มหาวิทยาลัยพะเยา ตามการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • ชลธิดา เทพหินลัพ หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยพะเยา
  • น้ำเงิน จันทรมณี หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นรินธน์ นนทมาลย์ หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อาภาพรรณ ประทุมไทย หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยพะเยา
  • นริศรา เสือคล้าย หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วรรณากร พรประเสริฐ หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยพะเยา
  • กัลวรา ภูมิลา หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยพะเยา
  • สุมิตรา อินทะ หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ณัฐพงษ์ พรมวงษ์ หลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น, หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่คาดหวัง และสภาพความต้องการจำเป็นในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2) เปรียบเทียบสภาพปัจจุบัน และสภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา ตามการรับรู้ของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหารคณะ/วิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 28 คน โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20 ของประชากร ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย 2) อาจารย์ผู้รับผิดชอบ/อาจารย์ประจำหลักสูตร ระดับปริญญาตรี จำนวน 294 คน และ 3) นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 (รหัส 63) จำนวน 366 คน โดยใช้วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามสภาพและความคาดหวังในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบ่งออกเป็น 3 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพและความคาดหวังในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 6 ด้าน รวมทั้งหมด 35 ข้อ และตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ จำนวน 6 ข้อ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีค่าความตรง อยู่ระหว่าง 0.6-1.0 และค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.982 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) การเปรียบเทียบรายคู่แบบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มมีความสัมพันธ์กัน (Dependent Sample T–Test) และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นด้วยสูตร PNImodified

ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิต เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมากที่สุด (PNImodified เท่ากับ 0.12)  รองลงมาคือ ด้านบริหารจัดการ (PNImodified เท่ากับ 0.11) และด้านผู้เรียน (PNImodified เท่ากับ 0.09) ตามลำดับ 2) ผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิต มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อเปรียบเทียบรายคู่ พบว่า อาจารย์ และนิสิต มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ ผู้บริหาร อาจารย์ และนิสิต มีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพที่คาดหวังในการจัดการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในภาพรวมไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

ชลธิดา เทพหินลัพ, น้ำเงิน จันทรมณี, รักษิต สุทธิพงษ์, และวรรณากร พรประเสริฐ. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะบัณฑิตพันธุ์ใหม่ มหาวิทยาลัยพะเยา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 21(1), 67-81.

นรินธน์ นนทมาลย์, นริศรา เสือคล้าย, ชลธิดา เทพหินลัพ, น้ำเงิน จันทรมณี, กัลวรา ภูมิลา, และณัฐพงษ์ พรมวงษ์. (2564). การสำรวจคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาตามความต้องการของอาจารย์. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 14(1), 115-127.

แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558. (2558, 13 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 295 ง, หน้า 2-24.

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยพะเยา พ.ศ. 2553. (2553, 16 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 127 ตอนที่ 44 ก, หน้า 4-29.

มหาวิทยาลัยพะเยา. (2560). หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ฉบับปรับปรุง 2560. [เอกสารอัดสำเนา]. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

เมษา นวลศรี, กุลชาติ พันธุวรกุล, นริศรา จริยะพันธุ์, นิติกร อ่อนโยน, ศิริขวัญ บุญธรรม, สุชาวดี สมสำราญ, และวิษณุ สุทธิวรรณ. (2564). การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(6), 34-51.

ลินดา เกณฑ์มา, ชลลดา พงศ์พัฒนโยธิน, อัควิทย์ เรืองรอง, พนอเนื่อง สุทัศน์ ณ อยุธยา, ชัชศรัณย์ จิตคงคา, และจตุพล เจริญรื่น. (2558). การศึกษาสภาพและความต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติในมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสารสนเทศ, 14(1), 69-81.

สุนันท์ สีพาย และไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). เปลี่ยนผ่านการศึกษาไทยสู่ การศึกษา 4.0. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 13-27.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

O’Keefe, E. J. & Berger, D. S. (1999). Self-Management for College Student (2nd ed.). NY: Partridge Hill.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). NY: Harper & Row Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13

How to Cite

Share |