การพัฒนาแผนกลยุทธ์แบบกำหนดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์สำคัญ ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ธีรพล หาญสุด คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • นพดล นิ่มสุวรรณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • เรชา ชูสุวรรณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การพัฒนาแผนกลยุทธ์, แผนกลยุทธ์แบบกำหนดวัตถุประสงค์และผลลัพธ์สำคัญ (OKRs)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์แผนกลยุทธ์ปี 2564-2567 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา 2) ออกแบบแนวทางจัดทำแผนกลยุทธ์ OKRs และ3) พัฒนาแผนกลยุทธ์ OKRs ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา การวิจัยมี 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษา วิเคราะห์แผนกลยุทธ์ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลาและออกแบบแนวทางจัดทำแผนกลยุทธ์ตามแนวคิด OKRs 2) ตรวจสอบผลการศึกษา วิเคราะห์แผนกลยุทธ์โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลาและผลการออกแบบแนวทางจัดทำแผนกลยุทธ์ตามแนวคิด OKRs 3) ปรับปรุงและพัฒนาแผนกลยุทธ์ให้เป็นแผนกลยุทธ์แบบ OKRs 4) ตรวจสอบความถูกต้องของแผนกลยุทธ์แบบ OKRs ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผนกลยุทธ์แบบ OKRs 1 ท่าน ผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มงานบริหารกิจการนักเรียน หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานบุคคล หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงานทั่วไป หัวหน้ากลุ่มงานบริหารงบประมาณ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา รวมทั้งสิ้น 15 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง

ผลการพัฒนาแผนกลยุทธ์แบบ OKRs ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลาสรุปได้ดังนี้ 1) แผนกลยุทธ์เดิมเป็นแผนแบบดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPI) พบว่าครูไม่ได้มีส่วนร่วมในการกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายโครงการ/กิจกรรมไม่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ดังกล่าวซึ่งแตกต่างจากแผนกลยุทธ์ OKRs ที่เน้นผสมผสานในการกำหนดวัตถุประสงค์ร่วมกัน วัดผลในระยะสั้นเกิดการแก้ไขและพัฒนาที่เร็ว ทำให้ทุกคนในโรงเรียนทราบเป้าหมาย จัดทำโครงการ/กิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ 2) การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาแผนกลยุทธ์แบบ OKRs ดังนี้ 2.1) ทิศทางการจัดการศึกษาประกอบด้วยวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ 2.2) กรอบกลยุทธ์ระดับโรงเรียนประกอบด้วยวัตถุประสงค์หลักและผลลัพธ์สำคัญ 2.3) กรอบกลยุทธ์ระดับกลุ่มงานโดยกำหนดวัตถุประสงค์หลักในระดับกลุ่มงานจากการนำผลลัพธ์สำคัญของระดับโรงเรียนมากำหนดวัตถุประสงค์หลักในระดับกลุ่มงาน จากนั้นกำหนดผลลัพธ์สำคัญ 2.4) กรอบกลยุทธ์ระดับครู โดยกำหนดวัตถุประสงค์หลักในระดับครูจากการนำผลลัพธ์สำคัญของระดับกลุ่มงาน มากำหนดวัตถุประสงค์หลักในระดับครู จากนั้นกำหนดผลลัพธ์สำคัญ 3) จากวิสัยทัศน์ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสงขลา สามารถระบุพันธกิจ 5 ข้อเป้าประสงค์ 5 ข้อ กลยุทธ์ 5 ด้าน กำหนดกรอบกลยุทธ์ระดับโรงเรียนได้วัตถุประสงค์หลัก 19 ข้อผลลัพธ์สำคัญ 44 ข้อ กำหนดกรอบกลยุทธ์ระดับกลุ่มงานได้ วัตถุประสงค์หลัก 60 ข้อ ผลลัพธ์สำคัญ 145 ข้อ กำหนดกรอบกลยุทธ์ระดับครูได้วัตถุประสงค์หลัก 145 ข้อ ผลลัพธ์สำคัญ 258 ข้อ 

References

กิตติพัทธ์ จิรวัสวงศ์. (2562). OKRs @ Work บริหารผลงานสู่ความเป็นเลิศด้วย OKRs (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เกรท มีเดีย เอเจนซี.

เกศินี ประทุมสุวรรณ. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิด OKRs กับโครงการสร้างเสริมสุขภาวะ. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 38(2), 111-128.

ชาย โพธิสิตา. (2552). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ดวงจิต สนิทกลาง. (2561). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

นภดล ร่มโพธิ์. (2561). พัฒนาองค์กรและชีวิตด้วยแนวคิด OKRs (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: เอ็นพี อินเทลลิเจนซ์.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2563). การบริหารองค์การด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิด Objective and Key Results. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์, 37(2), 367-382.

ปิยนันท์ สวัสดิ์ศฤงฆาร. (2560). การจัดทำแผนกลยุทธ์. สืบค้นจาก https://drpiyanan.com/2017/06/15/article3-12/

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2561). ผู้นำองค์กรในโลก VUCA. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(3), 450-458.

พิเชษฐ์ วงศ์เกียรติ์ขจร. (2559). แนวทางเพื่อการเรียนรู้ การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). วิจัยเชิงคุณภาพทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). วารสารเพื่อการพัฒนาวิชาชีพครู, 1(1), 8-18.

ศศิมา สุขสว่าง. (2560). VUCA World ความท้าทายสำหรับผู้นำยุคใหม่. สืบค้นจาก https://www.sasimasuk.com/16768188/vuca-world-

ศิวาพัชญ์ บำรุงเศรษฐพงษ์, สวพร บุญญผลานันท์, และเกรียงไกร สัจจะหฤทัย. (2562). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาตามแนว Objectives & Key Results (OKRs). วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 8(3), 258-272.

สุภางค์ จันทวานิช. (2554). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกรินทร์ ยลระบิล และอังคณา แซ่เจีย. (2563). การบริหารงานผ่านการตั้งเป้าหมายและผลลัพธ์หลักกรณีศึกษาการใช้ OKRs กับการปฏิรูปหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ใน พาณุวงศ์ คัมภิรารักษ์ (บรรณาธิการ). ข้อมูลและการตัดสินใจในโลกที่ไม่เหมือนเดิม (น.109-209). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Mruthyanjaya, R. M., Prasad, & Rajesh, W. V. (2021). Objectives and Key Results for Higher Educational Institutions– A Blended Approach Part of Post Covid-19 Initiatives for Keeping the Institutions Abreast of the Industry Innovations, Create Future Leaders and Build the Nation. Pacific Business Review International, 13(9), 46-56.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-17

How to Cite

Share |