การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
รูปแบบการสอน, สมรรถนะด้านเทคโนโลยี, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนที่เสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยี ในรายวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) เพื่อประเมินผลความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 35 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มประชากรนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 169 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัญหาปัจจุบันและความต้องการรูปแบบการเรียนการสอน ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.80 แบบประเมินรูปแบบการสอน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ที่มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.50-1.00
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นนำเสนอสถานการณ์ปลายเปิด ขั้นที่ 2 ขั้นสำรวจและค้นหาข้อมูล ขั้นที่ 3 ขั้นออกแบบวิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ 4 ขั้นนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา และขั้นที่ 5 ขั้นประเมินและสรุปความคิด และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้นโดยเฉลี่ยทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2554). กรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระยะ พ.ศ. 2554-2563 ของประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER3/DRAWER088/GENERAL/DATA0000/00000498.PDF
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชัยภัทร วทัญญู, ทรงศรี ทุ่นทอง, และเนติ เฉลยวาเรศ. (2562). การพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เรื่อง คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์ ก้าวทันการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการสอนเสนอแนะ. วารสารวิชาการคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(1), 1-15.
ทวีสุข โภคทรัพย์. (2561). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสมรรถนะด้านไอซีที สำหรับนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 109-124. สืบค้นจาก https://www.edusmhk.com/wp-content/uploads/2019/08
ธนาอร เผ่าชู. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เพื่อพัฒนาสมรรถนะทางคอมพิวเตอร์ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ใน สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11. (น. 1419-1430). สงขลา, ประเทศไทย.
ศรีสมพร จันทะเลิศ. (2559). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการค่ายที่ส่งเสริมสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือประเมินสมรรถนะสำคัญของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สืบค้นจาก http://www.tupr.ac.th/download/vichakan/58-06-19_handbook3.pdf
แสงมณี อยู่พุก. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อการแก้ปัญหาและจิตวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 1(1), 63-73.
Grabinger, R. S., & Dunlap, J. C. (1995). Rich Environments for Active Learning: a Definition. Research in Learning Technology, 3(2), 5-34. Retrieved from https://doi.org/10.3402/rlt.v3i2.9606
Joyce, B., & Weil, M. & Calhoun, E. (2004). Model of Teaching (7th ed). Boston: Preason Education.
Mclnerney, D. M., & Mclnerney, V. (2002). Educational Psychology: Constructing Learning (3rd ed). Australia: Pearson Education Australia Pty Limited.
Piaget, J. (1962). The Stages of the Intellectual Development of the Child. Bulletin of the Menninger Clinic, 26(3), 120–128.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.