การพัฒนาสื่อวีดิทัศน์ประกอบการเรียนการสอน เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูให้กับ โรงเรียนขนาดเล็กในจังหวัดลำปางและลำพูน

ผู้แต่ง

  • เกศนีย์ อิ่นอ้าย คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
  • กนิษฐ์กานต์ ปันแก้ว คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

คำสำคัญ:

สื่อวีดิทัศน์, การขาดแคลนครู, โรงเรียนขนาดเล็ก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อวีดิทัศน์สนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2) พัฒนาศักยภาพการใช้สื่อวีดิทัศน์ในการสนับสนุนการเรียนการสอนของครูโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 3) ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาสังคมศึกษา ของนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็ก และ 4) แก้ไขปัญหาขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็กผลิตสื่อวีดิทัศน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนผ่านการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมเสริมสร้างศักยภาพความรู้ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม จำนวน 35 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 545 คน จากโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่จังหวัดลำปาง และลำพูน จำนวน 25 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์โดยผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินการใช้สื่อวีดิทัศน์ในการสนับสนุนการเรียนการสอนของครู แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสะท้อนความคิดต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ 

     ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อวีดิทัศน์สนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่พัฒนาขึ้นครอบคลุมเนื้อหา 5 สาระ รวม 50 ตอน ซึ่งมีผลการประเมินคุณภาพสื่อวีดิทัศน์ โดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก 2) ครูโรงเรียนขนาดเล็กมีศักยภาพการใช้สื่อวีดิทัศน์อยู่ในระดับมาก 3) นักเรียนโรงเรียนขนาดเล็กมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางคมศึกษาสูงขึ้นในทุกสาระ และ 4) ครูโรงเรียนขนาดเล็กร้อยละ 80 เห็นว่าสื่อวีดิทัศน์ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็กได้ดี และส่งผลให้ครูใช้สื่อเทคโนโลยีในการเสริมสร้างความรู้ให้แก่นักเรียนเพิ่มขึ้น ดังนั้น สื่อวีดิทัศน์สนับสนุนการเรียนการสอนสำหรับโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ที่พัฒนาขึ้นสามารถแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูให้กับโรงเรียนขนาดเล็กได้

References

กนกวรรณ นำมา, สูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล และไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2564). การพัฒนาสื่อดิจิทัลวีดีโอร่วมกับการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนเพื่อเสริมสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อย่างมีความสุข. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 12(2), 1-11.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/047/T_0001.PDF

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัญภร เอี่ยมพญา, นิวัตต์ น้อยมณี, พรทิพย์ อ้นเกษม, อภิชาติ อนุกูลเวช และดาวประกาย ระโส. (2565). โรงเรียนขนาดเล็ก: ปัญหาที่ต้องตัดสินใจ. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 23(1), 315 -329.

จตุพร เชยสาคร. (2561). การประเมินโครงการโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมของโรงเรียนขนาดเล็กในกลุ่มโรงเรียนพงตึก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

จรินทร อุ่มไกร และไกยสิทธิ์ อภิระติง. (2562). การพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, 5(2), 18 -27.

จิตราภรณ์ ชั่งกริส. (2559). การพัฒนาสื่อวิดิทัศน์เพื่อการเรียนรู้ตามแนวคิด Flipped Classroom เรื่อง การตรวจร่างกาย รายวิชา การประเมินภาวะสุขภาพ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, ปทุมธานี.

ทิศนา แขมมณี. (2564). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนน ลาภธนวิรุฬห์. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการขายเบื้องต้น ของนักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 1 โดยใช้สื่อวีดิทัศน์ (Youtube) (รายงานการวิจัย). วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ, กรุงเทพฯ.

รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2564). การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) ยุค COVID-19. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพ การบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 3(1), 29-47.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). กระบวนการโค้ชเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียน. http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/Coaching%20process_1574651111.pdf

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13

How to Cite

Share |