ผลของโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอล ของนักกีฬาฟุตบอลโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์สมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ทัศน์ไท ค้าขาย คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ต่อศักดิ์ แก้วจรัสวิไล คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

นักกีฬาฟุตบอล, ความคล่องแคล่วว่องไว, ทักษะการเลี้ยงลูกบอล, แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วในการเลี้ยงลูกบอลของนักกีฬาฟุตบอลระหว่างก่อนและหลังฝึกตามโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอลและโปรแกรมการฝึกแบบปกติ และ 2) เปรียบเทียบความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วในการเลี้ยงลูกบอลของนักกีฬาฟุตบอล หลังการทดลอง ระหว่างโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอลกับการฝึกตามโปรแกรมการฝึกแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลชายอายุ 13-15 ปี ของโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ สมุทรสาคร จำนวน 30 คน โดยทำการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลาก และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 15 คน โดยใช้ผลการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอล 2) แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว และ 3) แบบทดสอบทักษะการเลี้ยงลูกบอล สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบเปรียบเทียบโดยใช้ค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วในการเลี้ยงลูกบอลหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอลและโปรแกรมการฝึกแบบปกติสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความคล่องแคล่วว่องไวและความเร็วในการเลี้ยงลูกบอลของนักกีฬาฟุตบอล หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวควบคู่กับทักษะการเลี้ยงลูกบอลสูงกว่าโปรแกรมการฝึกแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

References

กรุงไท นพรัตน์ และโอฬาร ถิ่นบางเตียว. (2563). ปฐมบทฟุตบอลไทยภายใต้รัฐสมบูรณาญาสิทธิ์ พ.ศ. 2443-2475. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 8(2), 1-21.

กัญญารัตน์ ชลอรักษ์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายกับความสามารถในการเลี้ยงบอลของนักฟุตบอลระดับอาชีพ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเพทฯ.

ดวงพร ศรีเหรา. (2555). ผลการฝึกความคล่องตัวในนักกีฬาฟุตบอล. วารสารคณะพลศึกษา, 15(12), 132-142.

ธนาคาร เสถียรพูนสุข. (2560). ผลการฝึกพลัยโอเมตริกแบบวงจรด้วยยางรถ ที่มีต่อความเร็วและความคล่องแคล่วในนักกีฬาฟุตบอลโรงเรียน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ธีรนัย มุงคุณคำชาว และรุ่งระวี สมะวรรธนะ. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้เทคนิค เอส เอ คิว ที่มีต่อทักษะการเลี้ยงลูกฟุตบอลและสมรรถภาพทางกายของนักเรียนประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเพทฯ.

มณฑล ทองโรจน์, ชาญชัย ชอบธรรมสกุลม, ชนะวงศ์ หงส์สุวรรณ, และรัตนา เฮงสวัสดิ์. (2561). การสร้างโปรแกรมการฝึกความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตซอล. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย, 1(3), 75-85.

มุรธา นามพลกรัง. (2563). ผลของการฝึกโปรแกรม เอส คิว ที่มีผลต่อความเร็วของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา (ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วันใหม่ ประพันธ์บัณฑิต. (2551). การฝึกน้ำหนัก: Weight training. กรุงเทพฯ: ไอกรุ๊ปเพลส.

วิทยา เลาหกุล. (2543). เส้นทางสู่ชัยชนะ. กรุงเทพฯ: สหพัฒนาการพิมพ์.

ศุภณัฐ รัตนปกรณ์ และวายุ กาญจนศร. (2560). ผลของโปรแกรมการฝึกยิงประตูและสมาธิอานาปานสติ ที่มีต่อ ความสามารถในการเลี้ยงและความแม่นยำในการยิงประตูของนักกีฬาฟุตบอล โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 189-196.

อภิวัฒน์ ปานทอง. (2560). การวางแผนระยะยาวสำหรับสำหรับพัฒนานักกีฬา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(64), 15-22.

Krejcie, R. V. & D. W. Morgan, (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Sharkey, B. J. & Gaskill, S. E. (2006). Sport Physiology for Coaches. Illinois: Human Kinetics.

Warner, G. H. (1950). Warner Soccer Test, News Letter of the National Soccer Coaches Association of America. A Practical Approach to Measurement in Physical Education.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13

How to Cite

Share |