แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธของผู้อำนวยการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธ, โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธของผู้อำนวยการโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา 2) สร้างแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธ 3) ประเมินแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธที่พัฒนาขึ้น โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามแนวพุทธของผู้อำนวยการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 90 รูป/คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) 0.60-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 2) สร้างแนวทางและประเมินความเหมาะสมของแนวทาง โดยจัดสนทนากลุ่ม มีผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 8 รูป/คน พิจารณาความเหมาะสมของแนวทาง 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของแนวทาง จากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 รูป/คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้แบบประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผลความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของแนวทาง โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำตามแนวพุทธของผู้อำนวยการโรงเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด 8 ด้าน คือ (1) หลักอัตตาธิปไตย (2) หลักพรหมวิหารธรรม (3) หลักโลกาธิปไตย (4) หลักกัลยาณมิตรธรรม (5) หลักสังคหวัตถุธรรม (6) หลักธรรมาธิปไตย (7) หลักทศพิธราชธรรม และ (8) หลักอิทธิบาทธรรม ส่วนด้านหลักสัปปุริสธรรม อยู่ในระดับมาก 2) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธ ประกอบด้วย (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ของแนวทาง (3) แนวทางการพัฒนา 4) เงื่อนไขความสำเร็จของการพัฒนา มีความเหมาะสมมากที่สุด 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพุทธ มีความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์มากที่สุด
References
ธนกร น้อยทองเล น้อยทองเล็ก. (2556). บทบาทภาวะผู้นำเชิงพุทธ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 2(1), 1-6.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พชร สันทัด. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการทำงานในประเทศไทย ยุค 4.0. วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย, 1(1), 79-88.
พระครูปริยัติกิจจาภิวัฒน์. (2559). การสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา ในภาคเหนือ. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 5(1). https://so04.tci-thaijo.org/index.php/NBJ/article/view/253079/171858
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมบูรณ์ ธรรมลังกา. (2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(2), 58-66.
สมัย ดอนแก่น. (2560). รูปแบบการบริหารการกุศลภายในวัด จังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการสถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค, 3(2), 12-22.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. (2560). ภาวะผู้นำเชิงพุทธ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อภิชาติการพิมพ์.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York: Harper Collins.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.