รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา
คำสำคัญ:
รูปแบบการบริหารงานวิชาการ, การบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล, โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ดำเนินการวิจัย 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์มีโครงสร้างที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์เนื้อหาโดยศึกษาการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาที่มีแนวปฏิบัติที่ดีผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 รูป/คน โดยเลือกแบบเจาะจง ตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผล โดยการจัดประชุมกลุ่มสนทนา ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้คือร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาและเอกสารประกอบการสัมมนากลุ่ม วิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 รูป/คน ตอนที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ ดำเนินการโดยการนำรูปแบบที่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาว่าเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดขึ้นไป มาจัดทำแบบสอบถามความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำรูปแบบไปใช้ประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 260 รูป/คน
ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. สภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่า โรงเรียนให้ความสำคัญกับงานวิชาการมากที่สุด โดยมีการวางแผน การจัดองค์การ การนำองค์การและการควบคุมองค์การ ให้เอื้อต่อการบริหารงานวิชาการ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน และด้านการนิเทศการศึกษา 2. รูปแบบการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประกอบด้วย 1)หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) สาระสำคัญ 4) การนำรูปแบบไปใช้ และ 5) เงื่อนไขความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารงานวิชาการ ที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กมลรัตน์ ทิสมบูรณ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็กจังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยปทุมธานี, ปทุมธานี.
กองพุทธศาสนศึกษา. (2553). แผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการ การพัฒนาการศึกษา โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา (พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2562). กรุงเทพฯ: กองพุทธศาสนศึกษา, สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
กองพุทธศาสนศึกษา. (2557). คู่มือปฏิบัติงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
ชนิสรา ชุมวงศ์. (2563). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานวิชาการที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ชูเกียรติ วิเศษเสนา. (2562). การบริหารจัดการโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนสุรนารีวิทยา จังหวัดนครราชสีมา. ทักษะแห่งอนาคต: ความท้าทายของการศึกษาไทย. การประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 6. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. ประเทศไทย.
ราตรี เลิศหว้าทอง. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการความเสี่ยงงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยการประยุกต์ใช้แนวคิด SIPOC MODEL (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2560). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2560. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2561). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2561. กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน).
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2560). รายงานการสังเคราะห์ผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. http://www.onesqa.or.th/th/contentdownload/944/?inputFilter=&TextSearch=&Category=&gotoPage=3&PageSize=10
อธิป ศรีบรรเทา. (2560). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการที่มีประสิทธิผลในวิทยาลัยเทคนิค (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.
Bartol, K. M. & Martin, D. C. (1991). Management. McGraw-Hill.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.