ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวควบคู่กับภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอ เพื่อพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • ลำดวน อาลัย คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นิธิพัฒน์ เมฆขจร คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นิรนาท แสนสา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมแนะแนว, วิถีปกาเกอะญอ, ความรับผิดชอบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวร่วมกับภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอ และ 2) เปรียบเทียบความรับผิดชอบของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวร่วมกับภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอ กับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านห้วยน้ำใส จังหวัดแม่ฮ่องสอนจำนวน 20 คน ที่ได้มาโดยความสมัครใจและสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความรับผิดชอบ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .92 และ 2) ชุดกิจกรรมแนะแนวร่วมกับภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเครื่องหมายโดยใช้สถิติวิลคอกซัน และการทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) ภายหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวนักเรียนกลุ่มทดลองมีความรับผิดชอบสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวร่วมกับภูมิปัญญาวิถีปกาเกอะญอมีความรับผิดชอบสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กรมสามัญศึกษา. (2542). การประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จักรพันธ์ เพียรพนัสสัก. (2543). ภูมิปัญญาชาวบ้านในพิธีกรรมของชุมชนกะเหรี่ยง. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จันทรา พวงยอด. (2543). การพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพุทธจักรวิทยา โดยใช้กิจกรรมและเทคนิคการประเมินผลจากสภาพจริง (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนรินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

ชัญญา บุญรักษ์. (2556). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างจิตสำนักและความรับผิดชอบต่อการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพรตพิทยพยัต กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ณัฐิกา ปิ่นแก้ว. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในตนเองของนักเรียนชนเผ่ากะเหรี่ยง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านหัวแม่สุริน จังหวัดแม่ฮ่องสอน (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ณัฏฐิกานต์ แสงอุทัย. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความรับผิดชอบของนักเรียนหอพักนักกีฬา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย (จิรประวัติ) นครสวรรค์ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ปาณชีวัน ธนวัฒนากร. (2563). การพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเองด้านการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

ประณิตา ทองพันธ์. (2562). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(1), 79-94.

ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2545). การปรับพฤติกรรมเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มลฤดี แพทย์ปฐม. (2558). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวที่มีต่อความสามารถในการบริหารเวลาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย จังหวัดภูเก็ต (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

วิรัตน์ เลิศล้ำอุดม. (12 ธันวาคม 2564). บทสัมภาษณ์ ฮีโข่ ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่เป็นผู้นำทางวัฒนธรรมของบ้านห้วยน้ำใส เรื่อง วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวปกาเกอะญอ.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน). (2564). รายงานประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). (2564). รายงานประจำปีสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2564. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).

สมร ทองดี และปราณี รามสูตร. (2555). แนวคิดในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). คู่มือครูการจัดกิจกรรมและสื่อเพื่อการพัฒนาจิตพิสัยในระบบการเรียนการสอนระดับก่อนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

Hurlock, E. B. (1973). Personality Development. London: McGraw-Hill.

Kottman, T. Ashby, Jeffrey, S. & DeGraaf, D. (2001). Adventures in Guidance: How to Integrate Fun into Your Guidance Program. https://eric.ed.gov/?id=ED449421

Liesel, E. (2000). Guidance and Counseling Programme in Core Life Skills (Afrikaans text). Dissertation Abstracts International. http://www.thailis-db.car.chula.ac.th/dao/detail.nsp

McColman, J. W. (1975). Relationship between the Use of Learning Activity Packages, Group Activity and the Preferences of Student toward the Social Study Course. Dissertation Abstracts International. 36(1), 109 – A.

Turk, D. C. (1987). Facilitating Treatment Adherence: A Practitioner’s Guidebook. New York: Plenum Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13

How to Cite

Share |