รูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้บริหารเพื่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่นครชัยบุรินทร์

ผู้แต่ง

  • อนุศักดิ์ ดาลุนฉิม คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สงวนพงศ์ ชวนชม คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ชูเกียรติ วิเศษเสนา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

การเสริมพลังอำนาจ, ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของครู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร 2) สร้างรูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้บริหารเพื่อประสิทธิภาพ   ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่นครชัยบุรินทร์ วิธีดำเนินการวิจัย    แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูผู้สอน จำนวน 381 คน โดยผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.06 – 1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.89 และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การสร้างรูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายในการตรวจสอบเพื่อยืนยันร่างรูปแบบ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์และใช้แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 3 การประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยสถิติค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยข้อที่อยู่ในระดับมาก 3 ลำดับแรก คือ การให้เกียรติและความเคารพ รองลงมา คือ การฝึกอบรมและการพัฒนา และการยกย่องและยอมรับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การกำหนดบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ และการกำหนดมาตรฐานและความเป็นเลิศ 2) รูปแบบการเสริมพลังอำนาจผู้บริหาร ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) แนวคิดและหลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) สาระสำคัญ (4) แนวทางการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ และ (5) เงื่อนไขการนำรูปแบบสู่ความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เช่นเดียวกัน

References

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

พรฐิตา ฤทธิ์รอด. (2555). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแบบเสริมพลังอำนาจ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

วิน เชื้อโพธิ์หัก. (2547). การพัฒนาบุคคลและการฝึกอบรม. กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์.

สมาน อัศวภูมิ. (2557). รูปแบบการบูรณาการระบบการประกันคุณภาพภายในกับการบริหารสถานศึกษา สำหรับสถานขั้นพื้นฐานขนาดกลาง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุชีพ ชั้นสูง. (2557). การพัฒนารูปแบบการประเมินตนเองโดยใช้วิธีเสริมพลังอำนาจเพื่อแสดงความรับผิดชอบในการดำรงวิทยฐานะชํานาญการพิเศษสำหรับครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

อาคม วัดไธสง. (2547). หน้าที่ผู้นำในการบริหารการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 2). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

Eisner, E. W. (1976). Educational Connoisseurship and Criticism: Their Form and Functions in Educational Evaluation. The Journal of Aesthetic Education, 10(3), 135-150.

Guskey, T. R. (2000). Evaluating Professional Development. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.

Keeves, P. L. (1988). Model and Model Building Education Research Methodology and Measurement: an International Handbook. New York: Pergamon.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

May. (1997). How Multinational and National Firms Compete: A Case study of the Hospitality Industry. New Yor: The Free Press.

Rappaport, J. (1984). Studies in Empowerment: Introduction to the Issue. Prevention in Human Services, 3(2-3), 1-7.

Tracy, D. (1992). Ten Steps to Empowerment: A Common-Sense Guide to Managing People. New York: William Morrow.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13

How to Cite

Share |