การพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงาน ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู

ผู้แต่ง

  • อลงกต ยะไวทย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ณัฐวัฒม์ วงษ์ชวลิตกุล คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • ณัชติพงศ์ อูทอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม, การจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน, วิชาชีพครู

บทคัดย่อ

การวิจัยการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงานของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงานให้เกิดการถ่ายโยงระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติในสภาพจริงของสถานศึกษา และศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังใช้แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาในหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาวิชาชีพครู คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล โดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 1 ห้อง 29 คน ที่ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงานในรูปของคู่มือ ซึ่งพัฒนาโดยการประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงอนาคตแบบอีดีเอฟอาร์ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย (1) แบบประเมินพัฒนาการจากผลลัพธ์การเรียนรู้สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และค่าความเชื่อมั่น Cronbach's Alpha เท่ากับ .974 และ (2) แบบประเมินทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม มีค่าความเชื่อมั่น Cronbach's Alpha เท่ากับ .982 ทดสอบสมมุติฐานเชิงสถิติด้วยการทดสอบเอฟ (F-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และเปรียบเทียบรายคู่โดยใช้ Least Significant Difference: LSD

ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมด้วยการบูรณาการความรู้กับการทำงานของนักศึกษา โดยผู้เกี่ยวข้อง 11 คน การพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมแบ่งออกเป็นช่วงที่ 1 ได้แก่ รู้จักและเห็นความสำคัญของการคิดเชิงนวัตกรรม และเตรียมชุดทัศนะ ช่วงที่ 2 ได้แก่ ขั้นที่ 1 ระบุความต้องการ ขั้นที่ 2 ระดมสมอง ขั้นที่ 3 สร้างนวัตกรรมต้นแบบ ขั้นที่ 4 ทดสอบนวัตกรรม และขั้นที่ 5 ประเมินผลนวัตกรรม เพื่อเกิดนวัตกรรมการสอน 2) ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้งผลการประเมินพัฒนาการผลลัพธ์การเรียนรู้สำคัญที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์และการพัฒนานวัตกรรม และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมก่อน ระหว่าง และหลังการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม พบว่าระดับคะแนนเฉลี่ยก่อนการพัฒนาเท่ากับ 3.46 และ 3.43 คะแนน ระหว่างการพัฒนาเท่ากับ 4.17 และ 4.18 คะแนน และหลังการพัฒนาเท่ากับ 4.83 และ 4.84 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน ตามลำดับ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยระดับคะแนนหลังจากการพัฒนาทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับคะแนนระหว่างและก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

References

คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565. ณ วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2565.

ชาญณรงค์ วิเศษสัตย์ และประสาท เนืองเฉลิม. (2561). แนวทางการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต, 18, 129-141.

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580). (2561, 13 ตุลาคม 2561). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135.

ประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, 30 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137.

ไปรมา อิสรเสนา ณ อยุธยา และชูจิต ตรีรัตนพันธ์. (2560). Design thinking: Learning by doing การคิดเชิงออกแบบ: เรียนรู้ด้วยการลงมือทำ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC).

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2570 และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563 – 2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

Billett, S, (2009). Realizing the Educational Worth of Integrating Work Experiences in Higher Education. Studies in Higher Education, 34, 827-843.

Birgili, B. (2015). Creative and Critical Thinking Skills in Problem-based Learning Environments. Journal of Gifted Education and Creativity, 2, 71-80.

Cooper, L., Orrell, J. & Bowden, M. (2010). Work Integrated Learning: A Guide to Effective Practice. London: Routledge.

Kennedy, M., Billett, S., Gherardi, S. & Grealish, L. (2015). Practice-based Learning in Higher Education: Jostling Cultures, In M. Kennedy, S. Billett, S. Gherardi & L. Grealish (eds.), Practice-based Learning in Higher Education: Jostling Cultures (pp.1-14). Berlin: Springer.

Kramer, M. & Usher, A. (2011). Work-Integrated Learning and Career-Ready Students: Examining the Evidence. Toronto: Higher Education Strategy Associates.

Lembcke, T-B. (2018). Towards an Understanding of Success Dimensions in Design Thinking Education (Master Thesis). University of Potsdam, Potsdam, Germany.

National Institute of Education. (2009). A Teacher Education Model for the 21st Century. An Institute of Nanyang Technological University, Singapore.

Ontario Ministry of Education. (2016). Ontario’s Draft 21st Century/Global Competencies (December 2015 – Draft for Discussion). Ontario: Queen’s Printer for Ontario.

Rampersad, G. (2020). Robot will Take Your Job: Innovation for an Era of Artificial Intelligence. Journal of Business Research, 116, 68-74.

Stirling, A., Kerr, G., Banwell, J., MacPherson, E. & Heron, A. (2016). A Practical Guide for Work-Integrated Learning: Effective Practices to Enhance the Educational Quality of Structured Work Experiences Offered through Colleges and Universities. Higher Education Quality Council of Ontario, Ontario.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13

How to Cite

Share |