กลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1

ผู้แต่ง

  • ช่อรัก พันธ์สวัสดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • วรสิทธิ์ รัตนวราหะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
  • สมบูรณ์ ตันยะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

คำสำคัญ:

กลยุทธ์, การบริหารงานการประกันคุณภาพภายใน, สถานศึกษาขนาดเล็ก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 และ 3) เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ดำเนินการวิจัย 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 ขั้นที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก ตัวอย่าง คือ สถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 320 โรงเรียน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นที่ 2 ศึกษาแนวทางการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีแนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ตอนที่ 2 สร้างกลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผล โดยการจัดประชุมกลุ่มสนทนา ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของร่างสร้างกลยุทธ์ ตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของสร้างกลยุทธ์ โดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้รับผิดชอบงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2) กลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขนาดเล็กที่มีประสิทธิผลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์คือ กลยุทธ์หลักที่ 1 เร่งรัดจัดทำแผนการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยเน้นการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย กลยุทธ์หลักที่ 2 ส่งเสริมและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและกลยุทธ์หลักที่ 3 ปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการประกันคุณภาพให้ถูกต้องครอบคลุมและสะดวกต่อการใช้งาน และกลยุทธ์หลักที่ 4 ส่งเสริมการนำผลการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษาไปใช้อย่างมีประสิทธิผล 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด

References

กมลรัตน์ ฐิติวัชร์วรกุล, คำนึง ทองเกตุ และอินทร์ จันทร์เจริญ. (2560). การบริหารงานประกันคุณภาพการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม 6. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(2), 220-237.

บุญธรรม อ้วนกันยา. (2562). กลยุทธ์การบริหารงานการประกันคุณภาพภายในที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

ไพฑูรย์ แจ่มพันธ์. (2560). กลยุทธ์การบริหารระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 1(1), 112-122.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2559). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560 – 2564) และแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี (พ.ศ. 2561 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Stufflebeam, D. L. (2007). CIPP Evaluation Model Checklist: A Tool for Applying the CIPP Model to Assess Long-Term Enterprises. https://wmich.edu/sites/default/files/attachments/u350/2014/cippchecklist_mar07.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-13

How to Cite

Share |