การพัฒนาชุดฝึกอบรมการใช้ประโยชน์จากแมลงในท้องถิ่นของเกษตรกร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้ประโยชน์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแมลงในท้องถิ่นของเกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) พัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่อง การใช้ประโยชน์จากแมลงในท้องถิ่นของเกษตรกร 3) ศึกษาผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรมและผลการดำเนินการฝึกอบรม ศึกษาการใช้ประโยชน์จากแมลง โดยสัมภาษณ์เกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานี 70 คน ศึกษาความรู้ความเข้าใจเรื่องแมลง โดยจัดการสนทนากลุ่มเกษตรกรและผู้เกี่ยวข้อง 10 คน เพื่อกำหนดแนวทางการสร้างชุดฝึกอบรมเรื่องการ ใช้ประโยชน์จากแมลงในท้องถิ่นของเกษตรกร และทดลองใช้ชุดฝึกอบรม โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นเกษตรกรผู้ทำการเกษตรแบบเกษตรอินทรีย์ 33 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรใช้แมลงเป็นอาหาร 13 ชนิด คือ ด้วงงวงมะพร้าว ด้วงรำข้าวสาลี แมลงนูนหลวง จักจั่น มดแดง ต่อหัวเสือ ผึ้งพันธุ์ ผึ้งโพรง ผึ้งหลวง ชันโรง แมลงเม่า หนอนผีเสื้อต้นตาตุ่ม จิ้งหรีด และ นำมดแดง ต่อหัวเสือ ผึ้งพันธุ์ และชันโรงช่วยเพิ่มผลผลิตเกษตร 2) เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของแมลงในท้องถิ่นต้องการฝึกอบรมเรื่องเกี่ยวกับแมลงในท้องถิ่น 3) ชุดฝึกอบรมที่สร้างขึ้นมีเนื้อหา 5 เรื่อง คือ (1) ความรู้เกี่ยวกับแมลงในท้องถิ่น (2) การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยชีววิธี (3) กับดักแมลง (4) การเลี้ยงชันโรง (5) การเลี้ยงหนอนด้วงรำข้าวสาลี แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจมีค่าความยาก 0.39 - 0.76 ค่าอำนาจจำแนก 0.22 - 0.46 ค่าความเชื่อมั่น 0.89 ชุดฝึกอบรมมีประสิทธิภาพ 83.46/ 84.60 ตามเกณฑ์ 80/80 4) ผลการทดลองใช้ชุดฝึกอบรม พบว่าเกษตรกรมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและ หลังฝึกอบรมเท่ากับ 14.12 และ 26.52 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบคะแนนพบว่ามีความแตกต่างกัน ที่ระดับ .05 และเกษตรกรมีความคิดเห็นว่าการดำเนินการอบรมเหมาะสมในระดับมาก ( =4.32)
Article Details
References
จินตนา หย่างอารี. (2551). แมลงกินได้ อร่อย มีคุณค่าแต่... หมอชาวบ้าน, 353 (30) : 18-25.
มูลนิธิเอสซีจี. (2555). โครงการเพื่อเด็กและเยาวชนการสร้างจิตสำนึกรับผิดชอบต่อ สังคม [Online]. เข้าถึงได้จาก http://www.scgfoundation.org/th/ children And Youth Detail.asp?id=26 (2555, กรกฎาคม 13).
เมธี ปิยะคุณ และสุรชัย เลิศธนาผล. (2551). การพัฒนาชุดฝึกอบรมแบบ e-Training เรื่องทักษะการสอนงานสำหรับหัวหน้างาน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ฤทธิ์ วัฒนชัยยิ่งเจริญ. (2553). แนวทางการดูแลและรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ [Online]. เข้าถึงได้จาก : http : www.Trueplookpanya.com/true/knowledge (2553, ตุลาคม 10).
สิทธิชัย นันทรัตน์กุล สุนทร พูนเอียด และสนชัย ใจเย็น. (2558). การพัฒนาหลักสูตร ฝึกอบรมดูแลเยาวชนให้ปลอดจากยาเสพติดสำหรับผู้ปกครองนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 2 (2) : 59-75.
สุพจน์ พรหมรักษ์. (2552). การพัฒนาชุดฝึกอบรมวิชาชีพสำหรับผู้ต้องขังเรือนจำ ชั่วคราวห้วยกลั้งสังกัดเรือนจำอำเภอหลังสวนจังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
สมนึก บุญเกิด. (2551). การจัดการรังผึ้งจิ๋วเพื่อเพิ่มศักยภาพของผลผลิตทางการเกษตร. กรุงเทพฯ : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
โสภณ บุญล้ำ. (2556). คู่มือเพาะเลี้ยงหนอนนก. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.
อนุวัตร ชัยเกรียติธรรม และคณะ. (2553). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูสอน ภาษาอังกฤษแบบค่ายกิจกรรม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคราม, 4 (1) : 121-129.