ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

วิสัณห์ พาหะมาก

บทคัดย่อ

 


            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยแบ่งเป็น        2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคใต้ตอนบน จำนวน 402 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม             แบบมาตรวัดประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย          ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) ด้วยโปรแกรม LISREL


            ผลการวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ปัจจัย ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร สมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา การนำนโยบายสู่การปฏิบัติและการบริหารจัดการ ทั้งกลุ่มโรงเรียนที่มีผลคะแนนโอเน็ตสูงและ       ผลคะแนนโอเน็ตต่ำ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ       ที่ระดับ .01 โดยภาวะผู้นำของผู้บริหาร การนำนโยบายสู่การปฏิบัติส่งผลทางตรงต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็ก การนำนโยบายสู่การปฏิบัติและภาวะผู้นำของผู้บริหาร ส่งผลทางตรงต่อสมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในขณะที่สมรรถนะของครูและบุคลากรทางการศึกษาส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิผลโรงเรียนขนาดเล็กโดยส่งผ่านการบริหารจัดการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนิต ทองอาจ. (2553). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผล ของโรงเรียนในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2545). พื้นฐานการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
เรียม สุขกล่ำ. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปงบประมาณ 2558. กรุงเทพฯ : โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหง ประเทศไทย จํากัด.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการกระจายอํานาจ การบริหารและการจัดการการศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สํานักงานวิชาการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2556). คู่มือการจัดสอบO-NET สำหรับศูนย์สอบ 2556. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษา.
อรวรรณ อุ่นวิเศษ. (2549). คุณภาพชีวิตการทำงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.
Hoy, W.K. and Ferguson, J (1985). A Theoretical Frame work and Exploration of Organizational Effectiveness in School. Educational Administration Quarterly, 21 (2) :121-122.