ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่ และการป้องกันการสูบบุหรี่ของนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุภิญญา คำพันธ์ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • อนงค์นาถ หนูดาษ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชนากานต์ เกษตรการุณย์ วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ธนะวัฒน์ รวมสุก วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางสุขภาพ, บุหรี่กับการป้องกัน, นักศึกษา, กรุงเทพฯ

บทคัดย่อ

                     บุหรี่เป็นสารเสพติดที่มีผู้เสพติดมากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมอยากรู้ อยากลอง ทำให้เกิดการเสพติดบุหรี่ได้ การวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์นี้ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่และการป้องกันการสูบบุหรี่ของ นักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั้งข้อมูลทั่วไป ประวัติการสูบบุหรี่ และความรอบรู้ทางสุขภาพ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน มีค่าความเชื่อมั่นโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ 0.95 และค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1.00 1.00 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิต Spearman Rank-Order Correlation Coefficient และ Eta coefficient พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรอบรู้ทางสุขภาพ ได้แก่ เพศ (η = .288, p = .010) คณะ/สาขาที่ศึกษา (η = .392, p = <.001) เกรดเฉลี่ยสะสม (r = .226, p = <.001) และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ (η = 338 , p = .001) จากผลการศึกษา ทำให้ทราบถึงปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรอบรู้ทางสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่และการป้องกันการสูบบุหรี่ สถาบันการศึกษาควรส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพให้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้กลุ่มนักศึกษารับรู้ถึงอันตรายของบุหรี่ ผลกระทบของบุหรี่ต่อภาวะสุขภาพ และการส่งเสริมการป้องกันการสูบบุหรี่ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างสำเร็จ

References

Baker, D. W., Wolf, M. S., Feinglass, J., Thompson, J. A., Gazmararian, J. A., & Huang, J. (2007). Health literacy and mortality among elderly persons. Archives of Internal Medicine, 167(14), 1503-1509.

Jirapon Jankaew, Ponnapa Homsin, and Rungrat Srisuriyawet. (2015).Factors related to smoking initiation among male students in lower secondary school, Pathum Tani. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 27(2), 99–109.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Luksanapon Krungkraipetch and Kitti Krungkraipetch. (2017). Factor affecting Smoking behavior of Undergraduate students in Burapha University. Burapha Journal of Medicine, 4(1), 21–30.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

Prakit Vateesathogkit. (2008). Tobacco and health. Nonthaburi: Teerakan Graphic.

Roma W, Kloyiam S, Sumnuanklang M, Tanasugarn S, Tipayamongkholgul M, Aimyong N, et al. (2018). The Thai health literacy survey of Thai aged 15 years and above. Bangkok: Department of Health and Health system research institute.

Sasidhorn Chidnayee and Waraporn Yottavee. (2018). Factors related with smoking behaviors of youth at Uttaradit. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 10(1), 83–93.

Sisilak Akaphin, Konganok Saodaen, Lalada Thongjumnog, and Yatavee Senchaowanich. (2020). Health literacy of Thammasat university students towards medical use of cannabis (Master’s thesis). Faculty of Social Administration, Thammasat University.

Supanee Senadisai and Surintorn Kalampakorn. (2020). Tobacco and health: Nurse and tobacco control. Nonthaburi: Suetawan.

Tanawat Ruamsook, Surintorn Kalampakorn, and Tassanee Rawiworrakul. (2018). The effect of smoking cessation program by applying the Protection Motivation Theory in patients with hypertension. Thai Journal of Nursing, 67(1), 1-10.

Tobacco Control Research and Knowledge Management Center. (2020). Thailand tobacco consumption report. Bangkok: Sinthaveegit.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20.06.2021