ภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชกรณ์ ระบิล วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิลาสินี จินตลิขิตดี วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ภาวะหมดไฟในการทำงาน, สภาพแวดล้อมในการทำงาน, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

              การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพแวดล้อมและภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2.เปรียบเทียบระดับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล3. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการทำงานกับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานส่วนกลาง จำนวน 299 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
t-test One-Way ANOVA และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson ผลการศึกษาพบว่า 1. บุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีภาวะหมดไฟภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 2.35) 2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุที่แตกต่างกันมีภาวะหมดไฟในการทำงานแตกต่างกันในด้านการลดค่าความเป็นบุคคล (Sig. = .02) และ 3. สภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางลบกับภาวะหมดไฟในการทำงาน โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (r = -.63) ซึ่งผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ โดยเป็นแนวทางในการบริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อแก้ปัญหาภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

References

Burke, R. J., & Richardson, A. M. (2000). Psychological burnout in organizations. In R. T. Golembiewski (Ed.), Handbook of organizational behavior (pp. 327–368). New York: Marcel Dekker.

Cartwright, S., & Cooper, C. L. (1997). Managing workplace stress. Thousand Oaks, CA: Sage.

Cooper, C. L., Dewe, P. J., & O’Driscoll, M. P. (2001). A review and critique of theory, research and application. Thousand Oaks, CA: Sage.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Maslach, C. (1982). Burnout: The cost of caring (2nd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Maslach, C., & Leiter, M. P. (1997). The truth about burnout: How organizations cause personal stress and what to do about it. San Francisco: Jossey-Bass.

Moos, R. H. (1986). The human context: Environmental determinants of behavior. Malabar, FL: Krieger.

Muldary, T. W. (1983). Burnout and health professionals: Manifestation and management. Norwalk, CO: Appleton-Century-Crofts.

Namakankham, A. (1999). Burnout among staff nurses providing counselling service in community hospitals northern region (Master's thesis). Chiang Mai University, Chiang Mai. (in Thai)

Schwab, A. H., Harpestad, A. D., Swartzentruber, A., Lanier, J. M., Wentz, B. A., Duran, A. P., ... & Read, R. B., Jr. (1982). Microbiological quality of some spices and herbs in retail markets. Applied and Environmental Microbiology, 44(3), 627-630.

Summawat, S. (1991). Burnout among the staff nurses in Ramathibodi hospital (Master's thesis). Mahidol University, Nakhon Pathom.

Wutthirong, P. (2014). Innovation management: Resource learning organization and innovation. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21.12.2021