ศึกษารูปแบบการเรียนผ่านระบบเมฆาวิถีในรายวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คำสำคัญ:
ออนไลน์, การสอนออนไลน์บทคัดย่อ
การศึกษารูปแบบการเรียนผ่านระบบเมฆาวิถีในรายวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ได้พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการจัดการศึกษาผ่านระบบเมฆาวิถีในบริบทของการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปของมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1.เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนผ่านระบบเมฆาวิถีในรายวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2.เพื่อหาประสิทธิภาพทางการเรียนผ่านระบบเมฆาวิถีในรายวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ตามเกณฑ์ E1 / E2 = 80 / 80 โดยวิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 1) ศึกษาเอกสาร หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาผ่านระบบเมฆาวิถี 2) พัฒนาร่างรูปแบบการเรียนผ่านระบบเมฆาวิถี 3) ตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการเรียนผ่านระบบเมฆาวิถี 4) ทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนผ่านระบบเมฆาวิถี ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนผ่านระบบเมฆาวิถีในรายวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ 2) การจัดกิจกรรมการสอนออนไลน์บน Google App for Education 3) การประเมินผล และแก้ไขปรับปรุง และผลการทดสอบประสิทธิภาพการเรียนการสอนฯ E1 / E2 เท่ากับ 82.87 / 83.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ รวมถึงผลการทดสอบประสิทธิภาพของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน แสดงให้เห็นว่านักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนหลังจากที่ใช้รูปแบบการเรียนผ่านระบบเมฆาวิถีในรายวิชาศึกษาทั่วไปมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาReferences
Chaiyong Promwong. (2011). Research and development of educational innovation. Retrieved June 30, 2014, from http://www.educ.su.ac.th/2013/images/stories/210655_01.pdf.
Chaiyong Promwong. (2013). Media performance testing or teaching series. Silpakorn Education and Research Journal, 5(1), 7-20.
Duangporn Dharma, Montri Yaem Kasikorn, and Pongprasert Hoksuwan. (2013). Development of an educational technology professional practice system to develop desirable qualities. Journal of Educational Administration Burapha University, 7(2), 28-41.
Gibson (2009). Towards the development of a work integrated learning unit. Retrieved May 10, 2020, from http://www.cfl.mq.edu.au/celebrate/pdf/papers/gibson1.pdf
Kidanan Malithong. (1998). Contemporary educational technology. (2nd ed.). Bangkok: Edison Press.
Kidanan Malithong. (2000). Technology and innovation. Bangkok: Arun.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว