การพัฒนาทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล เรื่อง ดวงดาวบนท้องฟ้า ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับชุดฝึกทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

ผู้แต่ง

  • กิตติภัค ชูวงษ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม https://orcid.org/0000-0003-4774-8529
  • อเนก เที่ยงจิตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • กัญญารัตน์ โคจร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น, ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล, ชุดฝึกทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

บทคัดย่อ

              การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล เรื่อง ดวงดาวบนท้องฟ้า ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฝ่ายมัธยม จำนวน 20 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบวิจัย คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ซึ่งประกอบด้วย 2 วงจรปฏิบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1. แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผน 2. ชุดฝึกทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล 3. แบบวัดทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล 4. แบบสังเกตทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล และ 5. แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ในวงจรปฏิบัติที่ 1 จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับชุดฝึกทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 10.00 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด และในวงจรปฏิบัติที่ 2 มีการปรับแก้หัวข้อคำถามในชุดฝึกทักษะให้สอดคล้องกับลักษณะข้อมูล และเพิ่มการยกตัวอย่างรูปแบบในการจัดกระทำข้อมูล รวมถึงเน้นกิจกรรมที่นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติมากขึ้น พบว่า มีกลุ่มเป้าหมายที่มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 25.00

References

Butts, D. P. (1974). The teaching of science: A serf directed planning guide. New York: Harper & Row.

Colburn, A. (2007a). Constructivism and conceptual change, part I. Science Teacher. 74(7), 10.

Colburn, A. (2007b). Constructivism and conceptual change, part II. Science Teacher, 74(8), 14.

Dechakup, P. (Ed.). (2002). Learner-centered instruction: Concepts, methods and teaching techniques. Bangkok: Institute of Academic Development. (in Thai)

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2018). Using science foundation courses Junior high school level Handbook. Bangkok: Author. (in Thai)

Jindanurak, T., & Chewpreecha, T. (1996). Development of scientific process skills package: Communication skills (Set 6). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Mastjarat, T., Wanthaisong, S., & Sangaunmu, B. (2003). Exercises-exercises to enhance skills for the development of learners and the preparation of academic works of teachers and educational personnel (professional teachers, expert teachers and specialized teachers). Bangkok: Tan Aksorn. (in Thai)

Ministry of Education. (2017). Learning standards and indicators of subjects of mathematics, science and geography in group of social religion and culture (revised version 2017 according to the core curriculum of basic education 2008). Bangkok: Agricultural Cooperative Association of Thailand. (in Thai)

Nuamkon, S. (2015). Promoting data organizing and communicating skill and interpreting and making conclusion skill of Mathayomsuksa 3 Students learning science content through Facebook (Master’s thesis). Chiangmai University, Chiang Mai. (in Thai)

Nuangchalerm, P. (2015). 21st Century education. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Nuangchalerm, P. (2018). Action research of teaching. Khonkaen: Klungnana Wittaya. (in Thai)

Patrick, H., Mantzicopoulos, P., & Samarapungavan, A. (2009). Motivation for learning science in kindergarten: Is there a gender gap and does integrated inquiry and literacy instruction make a difference. Journal of Research in Science Teaching: The Official Journal of the National Association for Research in Science Teaching, 46(2), 166-191.

Phuangkasem, K. (1997). Learning about creating to Thai language exercises at Prathomsuksa in department of Prathomsuksa. In 15th Prathomsuksa Education Seminar (pp. 7-14). Chiangmai: Faculty of Education, Chiangmai University. (in Thai)

Pianchob, S., & In-Thrampan, S. (1993). Methods of teaching Thai language at the secondary level. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Sawangworachat, S. (2000). Learner centered learning: Learners are the most important. Nakornsrithammarat: Medsai. (in Thai)

Sawatanapiboon, S. (1992). The process of development teaching science. Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)

Sinthapanon, S. (2018). Learning management of modern teachers to improve the skills of learners in the 21st Century. Bangkok: Chula Book. (in Thai)

Srithiang, M. (2009). The development of scientific learning activities with inquiry-based learning 5E by using the scientific process skill training package on concept of food and narcotic for Mathayomsuksa 2 (Master’s thesis). Mahasarakham University, Mahasarakham. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21.12.2021