การพัฒนาแบบวัดความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย

ผู้แต่ง

  • ราชัน ทวีคณะโชติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อัจฉราพร เมทา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

แบบวัด, ความเหนื่อยหน่าย, ความเหนื่อยหน่ายในการเรียน

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบวัดความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพแบบวัด โดยทำการเลือก กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 108 คน โรงเรียนอนุบาลคลองลาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบวัดความเหนื่อยหน่ายทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย เป็นแบบลิเคิร์ท 4 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.911 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) จากผลการวิจัยโดยใช้แนวคิดของของชัยพร พงษ์พิสันต์รัตน์, ภมรพรรณ์ ยุระยาตร์ (2562) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ 9 ตัวบ่งชี้ มีผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของโมเดลการวัดความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายมีค่าสถิติวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนี้ ค่าสถิติไคสแควร์ เท่ากับ 31.417 (p = .088) ที่องศาอิสระ เท่ากับ 22 CFI เท่ากับ 0.981 TLI เท่ากับ 0.969 และค่าดัชนีรากที่สองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.308 หมายความว่าโมเดลองค์ประกอบของแบบวัดความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี และแสดงว่าองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบ 9 ตัวบ่งชี้นั้น สามารถวัดความเหนื่อยหน่ายในการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายได้

References

Anawatchakul, R. (2009). Burnout factors influencing academic achievement of Mathayomsuksa 3 students at demonstration school, Ramkhamhaeng University (Master’s thesis). Ramkhamhaeng University, Bangkok. (in Thai)

Balogun, J. A., Hoeberlein-Miller, T. M., Schneider, E., & Katz, J. S. (1996). Academic performance is not a viable determinant of physical therapy students' burnout. Perceptual and Motor Skills, 83(1), 21-22.

Intakaew, A., & Akarapattanawong. (2017). A study of burnout in studying English of undergraduate students of Rajapark institute. Rajapark Journal, 11(24), 135-149. (in Thai)

Maslach, C., & Jackson, S. E. (1981). The measurement of experienced burnout. Journal of Organizational Behavior, 2(2), 99-113.

Maslach, C., & Leiter, M. P. (2005). Stress and burnout: The critical research, In C. L. Cooper (Ed.), Handbook of stress medicine and health (pp. 155-172). Lancaster: CRC Press.

McCarthy, M. E., Pretty, G. M., & Catano, V. (1990). Psychological sense of community and student burnout. Journal of College Student Development, 31(3), 211–216.

Muthen & Muthen. (2020). Retrieved August 31, 2021, from http://www.statmodel.com/

Pongpisanrat, C., & Yurayat, P. (2019). The study of components of learning burnout of college students. Social Sciences Research and Academic Journal, 14(2), 99-110. (in Thai)

Salmela-Aro, K., Kiuru, N., Leskinen, E., & Nurmi, J. E. (2009). School Burnout Inventory (SBI) reliability and validity. European Journal of Psychological Assessment, 25(1), 48-57.

Tang, L., Zhang, F., Yin, R., & Fan, Z. (2021). Effect of interventions on learning burnout: A systematic review and meta-analysis. Frontiers in Psychology, 12, 645662. doi:10.3389/fpsyg.2021.645662

Thambirajah, M. S., Grandison, K. J., & De-Hayes, L. (2008). Understanding school refusal: A handbook for professionals in education, health and social care. London: Jessica Kingsley.

Wang, Y., & Xu, S. (2011). The study on learning burnout of undergraduates and education counter measure. Psychology Research, 4, 36-39.

Wiratchai, N. (1999). Lisrail Model: Analytical Statistics for Research. Third Edition. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21.12.2021