ระบบยุติธรรมชุมชนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ผู้แต่ง

  • นิตยา โพธิ์นอก สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
  • ถวิลวดี บุรีกุล สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า
  • วลัยพร ล้ออัศจรรย์ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า

คำสำคัญ:

ยุติธรรม, ฟิลิปปินส์, ชุมชน

บทคัดย่อ

ยุติธรรมชุมชนประกอบด้วยสี่ภารกิจ ได้แก่ การป้องกัน การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ การเยียวยา และการรับผู้กระทำผิดคืนสู่ชุมชน ระบบยุติธรรมชุมชนในฟิลิปปินส์มีพัฒนาการอย่างยาวนาน แต่ส่วนใหญ่ได้รับการกล่าวถึงในมิติการจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ โดยภารกิจอื่นไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนัก การศึกษา “ระบบยุติธรรมชุมชนในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์” จึงเกิดขึ้นเพื่อทวนสอบว่าทั้งสี่ภารกิจมีการดำเนินการร่วมกันหรือไม่อย่างไร การวิจัยใช้วิธีเชิงคุณภาพด้วยการสำรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้แทนจากหน่วยงานรัฐ เอ็นจีโอ และชุมชนรวม 21 คน นำมาวิเคราะห์โดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ฟิลิปปินส์มีการดำเนินงานยุติธรรมชุมชนทั้งสี่ภารกิจโดยรัฐสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ด้วยรูปแบบหุ้นส่วนและขับเคลื่อน เอ็นจีโอและคณะชุมชนที่เรียกว่า “ลูปอน” เป็นตัวแสดงสำคัญที่ช่วยดำเนินภารกิจชุมชน ประเทศไทยอาจเรียนรู้จากฟิลิปปินส์โดยการเอื้อให้องค์กรที่หลากหลายได้เข้ามาร่วมขับเคลื่อนภารกิจยุติธรรมชุมชน แล้วมีการสนับสนุนงบประมาณ การอบรม หรือค่าตอบแทนสำหรับหน่วยยุติธรรมชุมชนที่ขับเคลื่อนเพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับงานวิจัยในอนาคตควรมีการศึกษาเพื่อบูรณาการทั้งสี่ภารกิจของยุติธรรมชุมชน

References

Austral, G. 2012. A Guide to the Katarungang Pambarangay System. (n.p.: Philippines Center for Civic Education and Democracy).

Bazemore, G, and M. (Eds.). Schiff. 2001. Restorative Community Justice: Repairing Harm and Transforming Community. Cincinnati: Anderson Publishing.

Bunnak, D. 2011. Framework and Literature Review on Thai Justice System: Direction of a Misleading Development. In J. Ur-armnuay and K. Katikarn (Eds.) Thai Criminal Justice Reform Forum . Bangkok: Law Reform Council. (in Thai).

Carrillo, L S. 2017. Enhancing Crime Prevention Through Community-Based Alternatives to Incarceration. http://www.unafei.or.jp/english/pdf/RS_No79/No79_31PA_Carrillo.pdf.

Clear, T R, and other. 2011. Community Justice. 2nd. New York: Routledge.

Duriyaprakit, K. 2011. Expectation of Community Justice Network to Operation of Community Justice Unit in Bangkok . (Master’s thesis). Thammasat University, Bangkok (in Thai).

Golub, S. 2003. Non-state Justice Systems in Bangladesh and the Philippines. http://gsdrc.org/docs/open/ds34.pdf.

Kittayarak, K. 2007. Developing Community Justice System in Thailand. In In J. Ur-armnuay and K. Kittayarak (Eds.) Community Justice: The Role on Facilitating Justice by Community for Community. Bangkok: Thailand Research Funds. (in Thai).

Ministry of Justice. 2014. Cultural Capital. http://website2556.moj.go.th/upload/mini121_other/uploadfiles/6261_9602.pdf (in Thai).

Parole and Probation Administration (PPA), Department of Justice, Republic of Philippines. 2014. Restorative Justice. http://probation.gov.ph/restorative-justice.

Rojo, S. 2002. Philippines: Is it an Effective Alternative to Improve Access to Justice for Disadvantaged People? (Doctoral dissertation). Brighton: University of Sussex.

Scott, M S. 2006. "Community Justice in Policing." Idaho Law Review 34: 1-27.

Thailand Institute of Justice. 2015. The Seminar on Promoting Community-Based Treatment in the ASEAN Region. Bangkok: Author.

The Border Consortium. 2014. Protection and Security Concerns in South East Burma/Myanmar. Bangkok: Wanida Press.

Ur-armnuay, J. 2013. Justice System and Alternative Justice in Social Science Analysis. Bangkok: Chulalongkorn University Press (in Thai).

Watanasap, W. 2010. Approach to Manage Conflict in Local Area. envi-mining.dpim.go.th/news/ac1-t1307603627.doc (in Thai).

Yangco, C C. 1999. Community-Based Treatment for Offenders in the Philippines: Old Concepts New Approaches, Best Practices United Nations Asia and Far East Institute for the Prevention of Crime and Treatment of Offenders 26-1. http://www.unafei.or.jp/english/pdf/RS_No54/No54_22VE_Yangco.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30.06.2022