ภาพลักษณ์สถาบันล้านนาศึกษาในทัศนะของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คำสำคัญ:
การรับรู้, ภาพลักษณ์, สถาบันล้านนาศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ในภาพลักษณ์สถาบันล้านนาศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังต่อภาพลักษณ์สถาบันล้านนาศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันล้านนาศึกษา เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ผลการศึกษาพบว่า
1) นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่รับรู้ภาพลักษณ์สถาบันล้านนาศึกษาในทุก ๆ ด้าน (การประชาสัมพันธ์ การบริหาร การจัดแสดงนิทรรศการ และด้านอาคารสถานที่) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) ความคาดหวังต่อภาพลักษณ์ของสถาบันล้านนาศึกษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยภาพรวมในทุก ๆ ด้าน (การประชาสัมพันธ์ การบริหาร การจัดแสดงนิทรรศการ และด้านอาคารสถานที่) อยู่ในระดับมาก
3) รูปแบบบริหารจัดการสถาบันล้านนาศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ควรเป็นการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในมหาวิทยาลัย โดยจัดนิทรรศการด้วยการคิดหัวเรื่อง (Theme) เรียงร้อยเรื่องราวเป็นหนึ่งเดียวกันเพื่อสร้างความต่อเนื่อง และอรรถรสในการชมนิทรรศการ ด้วยสื่อที่หลากหลาย รวมถึงการจัดภูมิทัศน์ มุมถ่ายภาพ อันจะนำไปสู่การประชาสัมพันธ์สถาบันล้านนาศึกษา
นอกจากนี้ การดำเนินกิจกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสถาบันล้านนาศึกษา ด้วยการจัดกิจกรรมเสริมความรู้ ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์และมรดกทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น อันจะนำพาไปสู่การรักษาไว้ซึ่งมรดกวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
References
House. Research Report. Srinakharinwirot University.
Jira Chongkol. (1982). Museum of Science. Copy from a document from the Fine Arts Department. Ministry
of Education.
Pritta Chaloemphao Ko Anantakul and board. (2004). Research Report on Local Museum Research and
Development Project Phase 1 Build a network and explore the local museum. Bangkok: Fund Office Research (TRF).
Panadda Tocumnuch. (2015). Museum: The Beginning of the Journey. Journal of Culture Chiang Mai
Rajabhat University Issue 2. Chiangmai: Suthat Printing.
Panadda Tocumnuch. (2016). From the unit Chiang Mai Teacher College to the Office of Art and Culture
of the University Chiang Mai Rajabhat Journal of Art and Culture Chiang Mai Rajabhat University. Issue 1. Chiang Mai: Suthat Printing.
Papisuth Saichampa. (2006). The image of the National Archives from the views of graduate students.
Study at state universities. Master of Arts Degree Thesis Archival and Document Management Program Silpakorn University
Sarapa Kanda. (2013). Perception and expectations of service users towards out-patient Services Nakhon
Pathom Hospital. Master of Business Administration Thesis Operational Program Silpakorn University
Saeksan Saisrisod. (2006). Public relations information system. Bangkok: CA. Book Publishing Company
Limited.
Amornthip Charoenphon. (2007). Knowledge management from educational sources of educational
institutions. Doctor of Thesis, Doctor of Philosophy (Educational Administration) Silpakorn University.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว