การพัฒนาแบบทดสอบคู่ขนาน สำหรับวัดความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยของรัฐ
คำสำคัญ:
แบบทดสอบคู่ขนาน, ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผลบทคัดย่อ
การพัฒนาแบบทดสอบคู่ขนานสำหรับวัดความสามารถทั่วไปด้านเหตุผลของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบทดสอบคู่ขนาน สำหรับวัดความสามารถทั่วไปด้านเหตุผลของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยของรัฐ และ 2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนจากแบบทดสอบวัดความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยของรัฐ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิต นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของมหาวิทยาลัยของรัฐทั่วประเทศ จำนวน 20,710 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบวัดความสามารถด้านเหตุผล โดยเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยสร้างแบบทดสอบคู่ขนาน จำนวน 3 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ ผลการวิจัย พบว่า เกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบทดสอบคู่ขนาน สำหรับวัดความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล มีคะแนนดิบตั้งแต่ 0 ถึง 20 คะแนน T ตั้งแต่ T12 ถึง T68 โดยคะแนนดิบ 17 ถึง 20 อยู่ในระดับสูง คะแนนดิบ 12 ถึง 16 อยู่ในระดับปานกลาง และคะแนน 0 ถึง 11 อยู่ในระดับต่ำ
References
Phuengrat Taweerat. (2530). Creation and developmet of achievement test. Bangkok. Educational and Psychological Test Bureau Srinakharinwirot University. Sombat Kanjanaprak. (2545). Teaching techniques for learners to develop thinking skills. Bangkok: Than Aksorn. Somnuk Phatthiyathani. (2546). Evaluation. (4th edition). Kalasin :Coordination of printing Thitima Thitirungrueng. (2544). Applied write-up examination development and basic of nurse. Faculty of Education Thaksin University, Songkla.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว