ความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สุนิสา ศรีวลีรัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, สวัสดิการ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็น 1 ใน 25 เขตพื้นที่ ที่เป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ของกรุงเทพมหานคร การได้รับสวัสดิการสังคมเป็นสิ่งสำคัญในการตอบสนองต่อความต้องการและสามารถแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุในชุมชนได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง โดยการศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมที่เหมาะสม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้สูงอายุที่ขึ้นทะเบียนและรับเบี้ยยังชีพกับเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร จำนวน 377 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทั้ง 6 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาล  ด้านการให้บริการ ด้านครอบครัวผู้ดูแลและการคุ้มครอง ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน  ด้านที่พักอาศัย และด้านรายได้ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้สูงอายุที่มีระดับการศึกษา โรคประจำตัว ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผู้สูงอายุที่มีลักษณะที่พักต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุที่มีเพศและสถานภาพต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการได้รับสวัสดิการสังคมไม่แตกต่างกัน

 

References

Campbell, R. F. (1976). Administration Behavior in Education. New York: McGraw – Hill.

Chaowalit, S. (1984). Social Welfare. Bangkok : Odeon Store (In Thai).

Dalkey, N., & Rourke, D. (1973). The Delphi Procedure and rating Quality of life factors in the Quality of Life Concept. Washington D.C: Environmental Protection Agency.

Decachakupt, J. (1996). Family Crisis in the Context of Thai Society and Culture. Journal of Home Economics of Thailand, 39(3), 27-36 (in Thai).

John, L. K. (1954). Culture and Conflict : A Comparative Study of Organizations. Organizational Culture, Management Strategies. New York: Praeger Publishers.

Khamhom, R. (2006). Social Welfare and Thai Society (2nd ed.). Bangkok: Sweet pepper graphics (In Thai).

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology, 22(140), 1-55.

Maslow, A. (1943). A Theory of Human Motivation Psychologica lReview. New York: McGraw-Hill.

Patamasiriwat, D. (2007). An Overview of Fiscal Policy for Society and Health and Measures for the Elderly. Bangkok: TK Printing (in Thai).

Powell, D. H. (1983). Understanding Human Adjustment: Normal Adaptation Through the Life Cycle. Boston, MA: Little Browm.

Rattanadilok Na Phuket, P. (1994). Concept and Research. On satisfaction in public health services. Journal of Doctors of Health, 23(3), 149-152 (In Thai).

Wiksungnern, J. (2010). Satisfaction towards social welfare provision for the elderly of the organization sub-district administration in Non Thai District Nakhon Ratchasima Province (Master's Thesis). Bangkok: : Thonburi Rajabhat University. (in Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30.06.2022