การขึ้นรูปเศษวัสดุเหลือใช้จากงานหัตถกรรมหนังตะลุงเพื่อการออกแบบเครื่องประดับภายใต้แนวคิดการพัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์

การศึกษาลักษณะทางกายภาพ ของเศษวัสดุเหลือใช้ในงานหัตถกรรมหนังตะลุง และหาวิธีการขึ้นรูปเพื่อการออกแบบเครื่องประดับภายใต้แนวคิดการ Upcycling

ผู้แต่ง

  • กัญญาภัค แก้วขาว คณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

หนังตะลุง, เศษวัสดุเหลือใช้, งานหัตถกรรม, เครื่องประดับ, การพัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

เศษวัสดุเหลือใช้จากงานหัตถกรรมหนังตะลุงเป็นวัสดุที่มีเอกลักษณ์และมีความน่าสนใจในเรื่องของคุณสมบัติของวัสดุและถือเป็นเศษวัสดุจากท้องถิ่นที่สะท้อนภูมิปัญญา คุณค่าด้านการสืบสานวัฒนธรรมและศิลปะ ผู้วิจัยจึงศึกษาและทดลองเศษวัสดุจากงานหัตถกรรมหนังตะลุง โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1)  เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพ และคุณสมบัติเฉพาะของเศษวัสดุเหลือใช้ในงานหัตถกรรมหนังตะลุง 2) เพื่อหาวิธีการขึ้นรูปเศษวัสดุเหลือใช้ในงานหัตถกรรมหนังตะลุงเพื่อการออกแบบเครื่องประดับภายใต้แนวคิดของการพัฒนาเศษวัสดุอย่างสร้างสรรค์ด้วยการสังเกตและทดลองโดยใช้เครื่องมือแบบบันทึกการทดลองขึ้นรูปจากเศษวัสดุเหลือใช้ในงานหัตถกรรมหนังตะลุงนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาเป็นชิ้นงานเครื่องประดับ

ผลการวิจัยพบว่า เศษวัสดุเหลือใช้ในงานหัตถกรรมหนังตะลุงมีเอกลักษณ์ คือ เป็นวัสดุธรรมชาติ มีความยืดหยุ่นและมีความคงทนของสีเมื่อฟอกแล้วจะโปร่งแสง สามารถบิดงอและพับได้ง่าย นำไปขึ้นรูปได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งการขึ้นรูปได้ 3 ประเภท ดังนี้ 1) การขึ้นรูปเป็นแผ่น โดยการขึ้นรูปลักษณะนี้มีข้อดีคือมีพื้นผิวที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำให้เห็นลักษณะของพื้นผิวได้ชัดเจน 2) การขึ้นรูปเป็นเส้น มีลักษณะเด่นคือค่อนข้างยาว สามารถต่อกันเพื่อเพิ่มความยาวได้ มีความยืดหยุ่น สามารถดัดรูปทรงได้ง่าย 3) การขึ้นรูปเป็นหน่วยชิ้นงานสามมิติ ซึ่งการขึ้นรูปในลักษณะนี้สามารถมองเห็นชิ้นงานได้รอบด้าน สร้างรูปทรงได้หลายทิศทาง ทำให้สามารถนำไปพัฒนาเป็นชิ้นงานเครื่องประดับได้หลากหลาย

References

Green Network. (2019). Upcycle and Recycle Sustainability. Retrieved from https://www.greennetworkthailand.com/upcycle-upcycling-recycle

Intrachooto, S. (2014). Upcycling, creative development of waste materials. Pathum Thani:National Science and Technology Development Agency (In Thai).

Kanjanatanasate, N. (2019). The product development from scraps of bamboo woven. Master of architecture program in industrial design, King Mongkut’s institute of technology ladkrabang (In Thai).

Kimseng, A. (2018). The jewelry represents the identity of shadow puppet handicraft. Master of Fine Arts Department of Jewelry Design, Silpakorn University (In Thai).

Prince of Songkla University. (2018). Nang Talung (Shadow play). Retrieved from https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/2/50385f2c (In Thai)

Sethasathien, K. (1999). Environmental problems and solutions. Chiang Mai University Journal of Economics, 3(2), 4-15 (In Thai).

Takamitsu, H., & Menezes, M. (2014). The use of alternative materials in contemporary jewelry. In CIMODE 2° International fashion and design congress, (pp. 5-8).

Thavornlertrat, N., & Tokavanich, R. (2008). Relationships of consumers' eco-friendliness and environmental conservation attitude and behavior. Journal of Communication Arts, 28(1), 108-110 (In Thai).

Wattanakit, S., & Khwansuwan, W. (2019). Adding Value to Waste for Decoration Products: Prototype Communities in Khaoroopchang Municipality Songkhla Province Thailand. Journal of Architecture Design and Construction, 3(2), 14-20 (In Thai).

Yuthong, C. (2022). Nang Talung in the South: Roots and Crucibles “The Identity of the Southern People”. Asian journal of arts and culture, 14(2), 19-29 (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27.12.2022