การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: จังหวัดเพชรบุรี
DOI:
https://doi.org/10.53848/ssajournal.v16i2.258405คำสำคัญ:
การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์, การพัฒนาอย่างยั่งยืน, การบริหารจัดการบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ออกแบบการวิจัยเลือกแบบผสานวิธีแบบคู่ขนาน (Parallel-Databases Design) เก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจงเลือกจากผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้ จำนวน 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้กำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว จำนวน 13 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการท่องเที่ยวในชุมชน จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และ กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวในชุมชน จำนวน 300 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสอบถามการบริหารจัดการด้านการท่องเที่ยว ผลการวิจัยพบว่า
- การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี ควรดำเนินการทั้งด้านเชิงรุก และด้านเชิงรับควบคู่กัน รวมทั้ง 4 มิติ ด้านเชิงรุก ได้แก่ เร่งพัฒนาในระยะสั้น และเพิ่มศักยภาพ ส่วนด้านเชิงรับ ได้แก่ การสร้างภูมิคุ้มกันในระยะยาว และการแก้วิกฤต เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการพัฒนา
- ขั้นตอนการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การจัดตั้งกลุ่มการท่องเที่ยว 2) การจัดการความรู้เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ และ 3) เปิดชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
- เทคนิควิธีการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 3 เทคนิค ได้แก่ 1) เทคนิค A-I-C 2) เทคนิคปฏิบัติการเรียนรู้ในชุมชน CoP และ 3) เทคนิคการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ P-D-C-A
โดยแนวทางดังกล่าวจะก่อให้ผลลัพธ์ที่เกิดจากรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ชุมชนสร้างสรรค์ 2) แหล่งท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3) ผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ และ 4) นักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
References
Aneksuk, B. (2017). Slow Travel: A Concept Survey. Humanity and Social Science Journal, 8(1), 26-47 (In Thai).
Department of Tourism. (2018). Tourism Development Strategic Plan 2018-2021 of the Tourism Group. Bangkok: VIP COPY PRINT (In Thai).
Designated Areas for Sustainable Tourism Administration (Public Organization). (2018). eating Creative Tourism Toolkit. Bangkok: BookPlus Publishing Co., Ltd (In Thai).
Edmonds, W. A., & Kennedy, T. D. (2017). An Applied Guide to Research Designs (2nd ed.). C&M Digitals: Nova Southeastern University.
Guengtragoon, S., & Mongkhonsrisawan, S. (n.d.). The Community Based Creative Tourism and Culture: A Case Study of Hong Moon Mung KhonKean City Museum, KhonKaen Province. Dhammathas Academic Journal, 19(1), 45-54 (In Thai).
Jirawisitthaporn, P. (2019). Phuket, the City of Educational Creativity. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 15(1), 128-156. (In Thai).
Luangchanduang, F., & Panyawadi, W. (2018). Development of Sustainable Creative Indicators for Community Based Tourism. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning (e-JODIL), 8(1), 79-104 (In Thai).
Richards, G. (2011). Creativity and tourism: The state of the art. Annals of tourism research, 38(4), 1225-1253.
Rungpipattanapong, S. (2015). Components Of Sustainability For Creative Tourism: The Case Study Of Amphawa Community, Samutsongkarm Province. Journal of Liberal Arts Ubon Ratchathani University, 11(2), 53-67 (In Thai).
Samukkethum, S. (2021). Glenn Laverack’s Approach to Community Empowerment. Journal of Social Work,Thammasat University, 29(1), 1-28 (In Thai).
Singhapat, S. (2016). Creative Cultural Tourism: Additional Revenue Activities for Phutai’s Ban Phon Community in Kalasin Province. Burapha Journal of Political Economy,Burapha University, 5(1), 53-67 (In Thai).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว