การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง การแยกสาร โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ หาความรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • มณีนภา ว่องไว สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป, คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • อังคาร อินทนิล สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป, คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์
  • ศศิธร แสนพันดร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป, คณะศึกษาศาสตร์และนวัตกรรมการศึกษา, มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรม, ทักษะการคิดวิเคราะห์, ความพึงพอใจ, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง การแยกสาร โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ในวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีค่าความเหมาะสมผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 2) พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม เรื่อง การแยกสาร โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนนามนราษฎร์สงเคราะห์ จำนวน 25 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้ (2) ชุดกิจกรรม เรื่อง การแยกสาร (3) แบบทดสอบทักษะการคิดวิเคราะห์ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรม เรื่อง การแยกสาร โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ผ่านการหาค่าความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าความเหมาะสมเฉลี่ยคือ 4.30 คิดเป็นร้อยละ 86.00 และแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ผ่านการหาค่าความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน มีค่าความเหมาะสมเฉลี่ยคือ 4.07 คิดเป็นร้อยละ 81.33 2) ทักษะการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง การแยกสาร โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีคะแนนเฉลี่ยคือ 19.67 คิดเป็นร้อยละ 78.67 3) ความพึงพอใจของนักเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

References

Khammanee, T. (2008). Science of teaching, the body of knowledge to organize an effective learning process (7th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).

Khunkhum, P., & Sitti, S. (2017). The Development of 5E Inquiry Learning Activities with Science Instructional Package to Enhance Analytical Thinking and Learning Achievement for Prathomsuksa 6 Students. Mahasarakham: Mahasarakham University (In Thai).

Komsangtong, S., Junsawang, N., & Nantachad, K. (2022). The Online 5E’s Inquiry-Based Learning on Cell to Promote Analytical Thinking of Grade 7 Students. Mahasarakham: Mahasarakham Rajabhat University (In Thai).

Lansa, S., & Vanichwatanavorachai, S. (2016). The development of learning activity package using inquiry process for promoting critical thinking and scientific mind for fourth gradestudents. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 1334-1348 (In Thai).

Noppibool, U. (2017). THE DEVELOPMENT OF SCIENCE ACTIVITY PACKAGE INQUIRY-BASED LEARNING 5E . Retrieved from https://www.kroobannok.com/board_view.php?b_id=156384&bcat_id= (In Thai)

Office of the Basic Education Commission. (2021). Supervision approaches to develop and promote active learning according to the policy of reducing learning time and increasing learning time. Bangkok: Office of the Basic Education Commission (In Thai).

Office of the Royal Society. (2015). Competency - based Education. Retrieved from https://cbethailand.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%99%E0 (In Thai).

Prempree, P. (2013). The development of an instructional package on fresh water ecosystem for muttayomsuksa 4 students of Prateabwittayatarn School, Saraburi. An Abstract for Master of Education Degree in Secondary education. Bangkok: Srinakharinwirot University (In Thai).

Richey, R. C., & Klein, J. (2007). Design and Development Research: Methods, Strategies, and Issues. New York: Routledge.

Saiyod, L., & Saiyod, A. (2000). Research Methodology in Behavioral Science. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).

Sangmahamad, R. (2017). Disparities in Education: Social Quality in Thai’s Views. Journal of Political Science and Public Social Sciences Chiang Mai University, 33-66 (In Thai).

Suchman, R. J. (1962). he Elementary School Trening Program in Scientific Inquiry. Urbana: University of Illinois.

Tachaphol, P., Nunthachad, K., & Pudsako, S. (2021). Development of learning activities by applying inquiry with Phenomenal Based learning to promote analytical thinking ability and attitude towards science learning of mathayomsuksa 2 students. Udon Thani Rajabhat University Journal of Guru Education, 19-37 (In Thai).

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2014). Inquiry Cycles (5Es). Retrieved from http://biology.ipst.ac.th/?p=688 (In Thai)

Wattanarat, P. (2020). The development learning activity inquiry cycle (5e) series electric power for mathayomsuksa 3 according to science strand. Phuket Rajabhat University Academic Journal, 42-57 (In Thai).

Wutmanop, D. (2014). The Development of a Learning Package Activities in Line of InquiryLearning Cycle Entitle “Cell and Life Processes of Plants” Mattayom Suksa 1. Krabi (In Thai): Ban Yan Udom School.

Yodmaythakul, K. (2015). The effect of teaching using the 7E inquiry method on science learning achievement and problem-solving ability of Mathayomsuksa 4 students. Nakhon Sawan: Nakhon Sawan Rajabhat University (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20.06.2023