ความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • พัชรินทร์ คัตสัตสทรี สาขาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

ความสุขในการเรียน, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, โรงเรียนสาธิต, มหาวิทยาลัยพะเยา

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา 2) เพื่อเปรียบเทียบความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาจำแนกตามเพศ ระดับชั้น ความเพียงพอของรายรับที่ได้จากครอบครัว   และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รูปแบบการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบเชิงสำรวจ พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยากลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาปีการศึกษา 2566 จำนวน 553 คน ใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี แบบสอบถามเรื่อง “ความสุขในการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา” โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านส่วนตัว มีจำนวน 31 ข้อ ตอนที่ 2) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านครอบครัว มีจำนวน 11 ข้อ และตอนที่ 3) เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยด้านสถานศึกษา มีจำนวน 22 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และร้อยละ

     ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับความสุขในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยานักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา มีความสุขในการเรียนอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 3.90) 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างความสุขในการเรียนของนักเรียน    ชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่มีความสุขในการเรียน ที่ไม่แตกต่างกันประกอบไปด้วย เพศ ระดับชั้น จึงไม่สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ ส่วนความสุขในการเรียนแตกต่างกันประกอบไปด้วย ความเพียงพอของรายรับที่ได้จากครอบครัว และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

References

Best, J. W. (1977). Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Boonsue, K. (1997). “Happy learning”. Journal of Education, 26(1), 7-22 (In Thai).

Chollawit, K. (2014). Analysis of the Learning Happiness Model and Learning Skills for Secondary School Students. In Master's thesis. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).

Christopher, P., John, F., Angeles, G., & Chris, M. (2007). General risk factors for dementia: A systematic evidence review. Alzheimer’s & Dementia, 3, 341-347.

Katchamaporn, W., Dongsang, K., Somsap, K., Matisungnoen, T., Areejitranusorn, T., Kuhiranyirat, P., & Maskasem, S. (2007). Levels of happiness and related factors of high school students at Khon Kaen Wittayon School, Khon Kaen Province. Academic year 2006. Srinakarin Vejsarn, 22(3), 254-260 (In Thai).

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology, 22(140), 1-55.

Office of the Basic Education Commission. (2008). asic Education Core Curriculum, B.E. 2551. Bangkok: Thai Co-operative Association (In Thai).

Office of the National Education Commission. (1997). Theory of Learning for Aesthetic Development and Characteristics in Art, Music, and Sports. Bangkok: Office of the National Education Commission (In Thai).

Rattanapaichit, N. (2015). Factors Influencing the Happiness of Adolescents in Upper Secondary Schools in the Upper Southern Region of Thailand. Doctoral dissertation, Faculty of Social Sciences. Ramkhamhaeng University (In Thai).

Rojas, M. E. (1992). Enhancing the Learning of Probability Through Developing Students’ Skill in Reading and Writing. Dissertation Abstract International 52 – 05A.

Sriplang, K. (2015). Factors Influencing the Happiness of High School Students in a School in Bangkok. In Master's thesis (Social Administration and Development), Faculty of Social Sciences. Kasetsart University (In Thai).

Wadnim, C. (2010). Factors related to happiness of single women in Bangkok. In Master's Thesis, Srinakharinwirot University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20.12.2023