การประเมินสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • ปวิช เรียงศิริ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • บุษบา แฝงสาเคน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การสื่อสารสุขภาพ, สมรรถนะ, การประเมินสมรรถนะ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพ  2) ประเมินสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุของ อสม. จังหวัดปทุมธานี การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย ได้แก่ อสม. จำนวน 32 คน ที่ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง

     ผลการวิจัย พบว่า สมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างด้านความรู้ทางกระบวนการสื่อสารมีค่าเฉลี่ย 4.08 ด้านทักษะการสื่อสารมีค่าเฉลี่ย 4.31 ด้านแรงจูงใจในการสื่อสารมีค่าเฉลี่ย 3.47  ด้านการรู้จักตนเองมีค่าเฉลี่ย 4.60  ด้านปัจจัยที่ส่งผลสำเร็จในการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุมีค่าเฉลี่ย 3.71 ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานในชุมชนมีค่าเฉลี่ย 4.27 ผลจากการสำรวจความต้องการพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความต้องการพัฒนาศักยภาพทางด้านการรู้จักตนเองมากที่สุด (ร้อยละ 62.50) รองลงมา คือ  การพัฒนาศักยภาพทางด้านความรู้ด้านกระบวนการสื่อสาร (ร้อยละ 53.12) แรงจูงใจในการสื่อสาร (ร้อยละ 40.62) และด้านทักษะการสื่อสาร (ร้อยละ 18.75) ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะด้านการสื่อสารสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุของ อสม. จังหวัดปทุมธานี ให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละตำบลได้ในอนาคต

References

Chamnian, M., & Kaewsanit, M. (2018). Health communication to promote the well-being for the community people. Association of Private Higher Education Institutions of Thailand (APHEIT) Journal, 24(2), 155-166 (In Thai).

Janchua, C. (2008). A research for curriculum development of short course training for management competency development of community-based tourism (Doctoral Dissertation). Chiang Mai: Maejo University (In Thai).

Kasemsuk, W., & Koshakri, R. (2015). The need to improve of health volunteer’s ability in home visit for diabetes people in communities. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 16(2), 59-68 (In Thai).

Kukkong, P., Iamnirun, T., Thongprayoon, C., & Boonsiripan, M. (2015). Health communication competency of village health volunteers in Khon Kaen province (Doctoral Dissertation). The Golden Teak : Humanity and Social Science Journal (GTHJ), 21(2), 187-197 (In Thai).

Nutchanart, N., Petcharak, S., & Chaovalit, S. (2018). A competencies development of the village health volunteers of Suphan Buri province. Journal of MCU Peace Studies, 6(2), 768-779 (In Thai).

Office of the Civil Service Commission. (2013). Handbook for Levels of Knowledge, Skills, and Competency for Career Positions. Bangkok: Prachoomchang (In Thai).

Office of the Civil Service Commission. (2018). The government sector and preparation for entering an aging society. OCSC e-JOURNAL, 60(4), 1-25 (In Thai).

Pongcharoen, C., & Muangchang, Y. (2018). Work motivation of village health volunteers in Suphanburi Province. Nursing Journl of the Ministry of Public Health, 29(1), 60-70 (In Thai).

Pongputarak, P., Tungprasert, S., Polpanich, N., Surapoppisith, P., Keerati-Urai, M., Piaras, N., & Permsomboon, N. (2021). A Development of Village Health Volunteer’s’ Communication Ability at Muen Vai Tambon Administrative Organization, Mueang District, Nakhon Ratchasima Province. NRRU Community Research Journal, 15(4), 99-111 (In Thai).

Santhong, N. (2002). Human resource development in the new era (2nd ed.). Bangkok: HR Center (In Thai).

Suksawas, C. (2011). Communication for nurses. Retrieved March 12, 2023, from http://www.olearning.siam.edu/2011-11-28-08-10-01/437-100-101- (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20.12.2023