การศึกษาการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนในรูปแบบผสมผสาน (Blended Learning) ระดับอุดมศึกษา
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน, การเรียนการสอนภาษาจีน, การสอนภาษาจีน, ระดับอุดมศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนรูปแบบผสมผสานที่ส่งผลต่อคุณภาพผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2) เพื่อศึกษาข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนผ่านรูปแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ผู้สอนในสาขาภาษาจีนจากทั่วประเทศไทยโดยเลือกแบบเจาะจงจาก 1 มหาวิทยาลัยของแต่ละภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ทั้งหมด 5 มหาวิทยาลัย จำนวนอาจารย์ทั้งหมด 60 คน โดยแบ่งขอบเขตเชิงเนื้อหารายวิชาออกเป็น 2 ลักษณะ ประกอบด้วยวิชาภาษาจีนเชิงทักษะพิสัย (Skill domain) และวิชาภาษาจีนเชิงพุทธิพิสัย (Cognitive domain)ช่วงเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือช่วงปีการศึกษา 2563 โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed method) โดยเก็บข้อมูลในรูปแบบของแบบสอบถามและสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในงานวิจัยคือการวิเคราะห์ค่าเปอร์เซ็นต์ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ลักษณะทางกายภาพในการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนรูปแบบผสมผสาน ด้านสัดส่วนเนื้อหาสาระการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีนเชิงทักษะพิสัยมากกว่ารายวิชาภาษาจีนเชิงพุทธิพิสัย ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่แตกต่างกัน จำนวนนักศึกษาต่อตอนเรียนในรายวิชาภาษาจีนเชิงทักษะพิสัยอยู่ที่ 30-39 คน และในรายวิชาภาษาจีนเชิงพุทธิพิสัย 30-59 คน รูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาภาษาจีนเชิงทักษะพิสัยใช้วิธีการอัดวีดิทัศน์การสอน จากนั้นเข้าชั้นเรียนจริงเพื่อฝึกฝนทักษะ รายวิชาภาษาจีนเชิงพุทธิพิสัยใช้รูปแบบการสอนแบบถ่ายทอดสด (live) พร้อมทั้งอัดวีดิทัศน์เพื่อให้นักศึกษาสามารถศึกษาย้อนหลังได้ สำหรับปัญหาที่พบ ได้แก่ ปัญหาอินเทอร์เน็ต ปัญหาสภาพแวดล้อมในการเรียนของนักศึกษา ปัญหานักศึกษาไม่เรียนรู้ด้วยตนเอง และปัญหาที่พบขณะคุมสอบแบบออนไลน์ ซึ่งการคุมสอบออนไลน์ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวัดและประเมินผล จึงส่งผลให้การวัดและประเมินผลในรายวิชาภาษาจีนเชิงทักษะพิสัยและพุทธิพิสัยมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยหลังจากการใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบผสมผสาน และพบว่าคุณภาพด้านผลการศึกษาของผู้เรียนมีทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบการเรียนการสอนของผู้เรียน 2) ข้อดีและข้อจำกัดของการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนรูปแบบผสมผสานสรุปผ่านมุมมองของอาจารย์ผู้สอน มีดังนี้ 2.1) ข้อดี ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ภาษาจีนเพิ่มขึ้น สื่อการสอนภาษาจีนมีความหลากหลายมากขึ้น ผู้เรียนและผู้สอนมีปฏิสัมพันธ์ในการสื่อสารระหว่างกันเพิ่มมากขึ้น และผู้เรียนเริ่มปรับตัวให้เหมาะสมกับการเรียนการสอนรูปแบบผสมผสาน 2.2) ข้อจำกัด พบว่าอุปกรณ์การเรียนและสภาพแวดล้อมในขณะเรียนไม่พร้อม อาจารย์ใช้เวลาในการเตรียมการสอนเพิ่มขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาจีนของนักศึกษาเกิดความคลาดเคลื่อน และพบปัญหาทักษะภาษาจีนของผู้เรียนในด้านการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การออกเสียง การเขียนภาษาจีน และการแสดงบทบาทสมมติเป็นภาษาจีน
References
Budnampetch, N. (2021). The Development of Integrated Remedial Learning Model with Cooperative Learning and Story-Based Teaching Techniques to Enhance Chinese Language Learning Ability of High School Students. Innovative distance learning e-journal, 52-67 (In Thai).
Chanthap, N. (2019). EFL Undergraduates’ Opinions towards the Effectiveness of a Blended Learning Integrated Instruction in the Fundamental English Course. Narkbhutparitat Journal Nakhon Si Thammarat Rajabhat, 11(3), 45-50 (In Thai).
Klaysri, P. (2016). Teaching and learning model development using blended learning concepts with metacognitive concepts for students of the Faculty of Education Rajabhat University in the Northeast. Bangkok: Curriculum and Teaching College of Education Dhurakij Pundit University (In Thai).
Liu, L. M. (2020). Online and offline blended learning will become the new normal of education. Digital teaching in primary and secondary schools, 26-28.
Muller, C. (2012). Experiences and evaluation of a blended learning concept for learning Chinese in higher education. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 34, 158-163.
Sasuk, A. (2013). A Study of the Achievement of Blended Learning to Promote Class Participation and Change Attitudes of Mathayomsuksa 4 Students in the Subject D 31101 Information Technology. Bangkok: Faculty of Education Kasetsart University (In Thai) .
Tantiwitkosol, W. (2017). The development of a blended learning activity model using GRIS techniques to promote reading ability in Thai. Bangkok: Department of Educational Technology graduate school Silpakorn University (In Thai).
Thittongkam, T. (2017). Blended Learning for English Skill Development. Journal of Research and Development Institute of Bansomdejchaopraya Rajabhat University, 2(1), 12-21 (In Thai).
Wang, R. F. (2020). An Analysis of Online Teaching Models for Chinese Language Skill Courses during a Period of Epidemic Prevention and Control. Chinese Teaching In The World, 34(3), 300-310.
Yin, H. Q. (2020). Online teaching and creating a new normal in teaching. Journal of Schooling Studies, 17(3), 72-74.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว