การศึกษาปัญหาการใช้คำซ้ำในภาษาจีนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
คำสำคัญ:
การใช้คำซ้ำในภาษาจีน, การพัฒนาการเรียนการสอน, แนวทางแก้ไขการใช้คำซ้ำที่ไม่ถูกต้อง, นักศึกษาระดับปริญญาตรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้คำซ้ำในภาษาจีน 1) วิเคราะห์ปัญหาการใช้คำซ้ำในภาษาจีนและผลที่เกิดจากการใช้คำซ้ำในภาษาจีนที่ไม่ถูกต้อง 2) ศึกษาหาแนวทางแก้ไขสาเหตุการใช้คำซ้ำในภาษาจีนที่ไม่ถูกต้อง 3) พัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการใช้คำซ้ำในภาษาจีนที่ใช้เป็นประจำ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาจีน ตั้งแต่ระดับชั้นปีที่หนึ่งถึงระดับชั้นปีที่สี่ จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตรวจแบบทดสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1. แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนภาษาจีน 2. แบบทดสอบการใช้คำซ้ำในภาษาจีน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้คำซ้ำในภาษาจีนเปลี่ยนไปตามบริบทและไม่สามารถแยกได้จากสภาพแวดล้อมทางภาษา นักเรียนหลีกเลี่ยงการใช้คำซ้ำเพื่อป้องกันความเข้าใจผิดพลาด นอกจากนี้ การวิเคราะห์ทางวัฒนธรรมพบว่าการใช้คำซ้ำในภาษาจีนขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยและวัฒนธรรมที่มีอิทธิพล 2) นักเรียนมักไม่ใช้คำซ้ำในภาษาจีนอย่างถูกต้องเนื่องจากความไม่มั่นใจในการใช้งาน การพัฒนาการสอนควรเน้นการเข้าใจโครงสร้างไวยากรณ์ของคำซ้ำและส่งเสริมให้นักเรียนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อเพิ่มความคุ้นเคย การใช้เทคโนโลยีในการสอนสามารถช่วยในการแสดงตัวอย่างการใช้คำซ้ำในภาษาจีนอย่างชัดเจนและถูกต้องได้ดีขึ้น
References
Bunchop, P. (1971). Characteristics of the Thai language. Bangkok: Teachersapa Printing (In Thai).
Buraminhae, S. (1966). Characteristics of repeating words in Thai language Education Thesis. In Master of Education Thesis, Department of Secondary Education graduate school. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).
Chao, Y. (1979). Chinese spoken grammar. Peking: Commercial press (In Chinese).
Fu, Z. (2006). Repeated words in Chinese and Thai a comparative study. In Master of Education Thesis), Department of Eastern Languages. Bangkok: Chulalongkorn University (In Thai).
Lu, Z. (1965). Chinese word formation. Peking: Science Press (In Chinese).
Ren, X. (1980). Chinese word formation. Peking: China Society Publishing House (In Chinese).
Wang, L. (1959). Chinese Modern Grammar Volume II. Hongkong: Zhonghua Book Company (In Chinese).
Yang, J. (2016). Chinese Course Volume 1. Peking: Peking Language and Culture University Press (In Chinese).
Yu, X. (2018). Short-term Listening and Speaking Chinese Course. Peking: Peking University Press (In Chinese).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว