ภาวะผู้นำแบบปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนยุคนิวนอร์มัล
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นําแบบปรับตัว, ยุคนิวนอร์มัล, สถานศึกษาอาชีวศึกษา, เขตกรุงเทพมหานครบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องภาวะผู้นําแบบปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนยุคนิวนอร์มัล ในเขตกรุงเทพมหานคร และ2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําแบบปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนยุคนิวนอร์มัล ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูผู้สอนในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร จํานวน 322 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นลักษณะแบบสอบถาม สถิติที่ใช้เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสํารวจ (EFA) ด้วยการสกัดปัจจัย (PCA) ใช้วิธีการหมุนแกนแบบตั้งฉาก (Orthogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) หาค่าไอเกน (Eigan Value) ร้อยละความแปรปรวน และค่าน้ำหนักตัวแปร (Factor Loading)
ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นําแบบปรับตัวของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนยุคนิวนอร์มัล ในเขตกรุงเทพมหานคร มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทักษะการบริหาร มี 15 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกน เท่ากับ 77.508 ค่าร้อยละของความแปรปรวนเท่ากับ 77.508 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .666 - .925 2) ด้านมีวิสัยทัศน์ จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกน เท่ากับ 3.454 ค่าร้อยละของความแปรปรวนเท่ากับ 80.962 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .731 - .903 3) ด้านให้อิสระการทำงาน จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกน เท่ากับ 2.575 ค่าร้อยละของความแปรปรวนเท่ากับ 83.537 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .816 – .926 และ4) ด้านความท้าทายเชิงปรับเปลี่ยน จำนวน 14 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกนเท่ากับ 2.369 ค่าร้อยละของความแปรปรวนเท่ากับ 85.906 และมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบตั้งแต่ .783 – .965
References
Fernandez, A. A., & Shaw, G. P. (2020). Academic Leadership in a Time of Crisis: The Coronavirus and COVID-19. Journal of Leadership Studies, 14(1), 39-45. Retrieved from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/jls.21684
Hair, J. F., Black, W. C., & Babin, B. J. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. Pearson Education.
Hawley, S. R. (2021). Using Adaptive Leadership Principles to Support Public Health 3.0 in Multidisciplinary Undergraduate Education. Leadership in Health Services, 34(3), 248-262. doi:10.1108/LHS-07-2020-0051
Heifetz, R., Linsky, M., & Grasshow, Z. (2009). The Practice of Adaptive Leadership: Tools and Tactics for Changing Your Organization and the World. Boston: Harvard Business Press.
Kotakarn, P. (2016). Leaders and leadership and organizational success. Retrieved September 9, 2020, from http://phinit0112.blogspot.com/2016/02/ (In Thai)
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610. doi:10.1177/001316447003000308
Parween, S., & Deepak, S. (2019). Positioning the future of Human Resource Management. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/333673492_Positioning_The_Future_Of_Human_Resource_In_A_VUCA_World
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว