แนวทางการออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานกรมการขนส่งทางบก กรณีศึกษาอาคาร 4 เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ปิยะวรรค์ ปิ่นแก้ว คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศุภโชค สนธิไชย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นิชาดา วงศาโรจน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

สำนักงานกรมการขนส่งทางบก, ออกแบบตกแต่งภายใน, ประสิทธิภาพการใช้พื้นที่, การวิเคราะห์พฤติกรรม

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้ศึกษาการปรับปรุงออกแบบตกแต่งภายในสำนักงานกรมการขนส่งทางบก อาคาร 4 เขตจตุจักร โดยเน้นประเมินประสิทธิภาพการใช้งานพื้นที่และการจัดการพฤติกรรมการใช้พื้นที่ พร้อมเสนอแนวทางการออกแบบที่ตอบสนองความต้องการของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ โดยใช้วิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ วิธีดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอนคือ 1) ค้นคว้าเก็บข้อมูลทฤษฎี แนวคิด ที่เกี่ยวข้องการออกแบบตกแต่งภายใน 2) วิเคราะห์ข้อมูลกายภาพทางสถาปัตยกรรมภายใน 3) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการภายในพื้นที่อาคาร 4) นำเสนอผลการวิจัยด้านการออกแบบตกแต่งสถาปัตยกรรมภายใน ทั้งนี้งานวิจัยได้ศึกษาถึงกายภาพทางสถาปัตยกรรม ปัญหาความไม่สอดคล้องระหว่างความต้องการของผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการกับพฤติกรรมการใช้พื้นที่ ส่งผลต่อการใช้พื้นที่ในอาคารปัจจุบัน ผลการศึกษาจึงสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงออกแบบตกแต่งภายในอาคารกรณีศึกษาภายใต้ขอบเขตโครงการที่กำหนดไว้ 6 พื้นที่ได้แก่ (1) พื้นที่ส่วนประชาสัมพันธ์ (2) พื้นที่ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย (3) พื้นที่อบรม (4) พื้นที่สอบภาคทฤษฎี (5) พื้นที่ส่วนทำใบอนุญาตขับขี่ และ (6) พื้นที่ส่วนสำนักงาน เพื่อให้พื้นที่อาคารกรณีศึกษามีประสิทธิภาพการใช้สอยพื้นที่ และการจัดการพื้นที่ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมเพิ่มยิ่งขึ้น

       ผลลัพธ์เชิงปริมาณจากการปรับปรุงออกแบบตกแต่งภายในอาคารพบว่า พื้นที่ส่วนกลางสำหรับทดสอบสมรรถภาพร่างกายและอบรมมีพื้นที่ว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 39% แสดงถึงประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ที่ดีขึ้น โดยการออกแบบควรพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการของผู้ใช้และการจัดการพื้นที่ที่รองรับกิจกรรมในปัจจุบัน

References

DeChiara, J., Panero, J., & Zelnik, M. (2001). Time-Saver Standards for Interior Design and Space Planning (2nd ed.). New York: McGraw-Hill Professional.

Karlen, M. (1993). Space Planning Basics (3rd ed.). New York, US: Van Nostrand Reinhold.

Mokkhawisut, N. (2016). Office Accommodation Management. Khon Kaen: Khon Kaen University.

Nichada, W. (2023). Improving the interior design of the Department of Land Transport office: Case study of Building 4, Chatuchak District in Bangkok. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University (In Thai).

Paengkasorn, A., & Wiwattanaka, N. (2012). The influence of factors and effectiveness of designing residential environments for the quality of life of the elderly. Bangkok: Silpakorn University (In Thai).

Palmer, M. A. (1981). The Architectect's Guide to Facility Programming (4th ed.). New York, US: McGraw-Hill, Inc.

Panaro, W., Juliusand, M., & Marfin, Z. (1979). Human Dimension & Interior Space (2nd ed.). New York: Whitney Library of Design.

Petchranon, C. (2012). Detailing of interior architectural design. Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (In Thai).

Reinhold, D., & Donna, P. (1993). Architectural Programming (2nd ed.). New York: Van Nostrand Reinhold.

Reznikoff, S. C. (1986). Interior Graphic and Design Standards (2nd ed.). London: Addson-Wesley.

Reznikoff, S. C. (1986). Interior Graphic and Design Standards American (4th ed.). New York: Watson-Guptill.

Salvan, M., & George, S. (1999). Architectural Utilities 3 Lighting and Acoustics (4th ed.). Philippine: Quezon City.

Song-in, S. (2005). Space planning for one stop service in Metropolitan Administration District Office of Bangkok. Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang (In Thai).

Traimongkolkul, T. (2000). Research methodology and Research design. Bangkok: Kasetsart University (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27.12.2024