The Motivation in Short Vocational Programs of Students in Bangkok Metropolitan Administration Mobile Vocational Training Centers

Main Article Content

กรปภัช นารากิตติภัทร์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเข้าศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ของนักศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพสัญจร กรุงเทพมหานคร 3 ด้าน คือ แรงจูงใจด้านส่วนตัว ด้านอาชีพ และด้านสังคม 2. เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจในการเข้าศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ของนักศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพสัญจร กรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามตัวแปร อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และหมวดวิชาเรียน โดยจำแนกตามตัวแปร อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และหมวดวิชาเรียนกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เข้าศึกษาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น ของนักศึกษาศูนย์ฝึกอาชีพสัญจร กรุงเทพมหานคร จำนวน 300คน ได้มาจากวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมติฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) 


ผลการศึกษาพบว่า 1) แรงจูงใจด้านส่วนตัว ด้านอาชีพ และด้านสังคมโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษามีแรงจูงใจด้านส่วนตัวเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ แรงจูงใจด้านสังคม และแรงจูงใจในด้านอาชีพ เป็นอันดับท้ายสุด 2) ผลการวิจัยแรงจูงใจ จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และหมวดวิชาเรียน พบว่านักศึกษาที่มี อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ ต่างกัน มีแรงจูงใจด้านส่วนตัว ด้านอาชีพ และด้านสังคม โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่าง ยกเว้นนักศึกษาที่เรียนหมวดวิชาเรียนต่างกัน มีแรงจูงใจ ด้านส่วนตัว ด้านอาชีพ และด้านสังคม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


 

Article Details

Section
Research Article

References

จามรี แช่ม. (2555). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ของนักเรียนเทคโนโลยี หมู่บ้านครูทางภาคเหนือ จังหวัดลำพูน. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทัศนีย์ ชาติไทย. (2555). แรงจูงใจและความต้องการในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา. หลักสูตรและการสอน, วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ทิศนา แขมมณี. (2539). พัฒนาการด้านการศึกษาไทย ในสมัยรัชกาลที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นพคุณ สุขสถาน. (2543). จิตวิทยาอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ศิรินภา ศรีโคกล่าม. (2556). แรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อสถาบันการพลศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในเขตภาคกลาง ปีการศึกษา 2554. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การจัดการเรียนรู้พลศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุทธิพร บุญส่ง. (2548). การพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคม (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่นจำกัด.
สุปัด ทองอินทร์. (2556). แรงจูงใจในการศึกษาต่อที่สถาบันการพลศึกษา. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต การวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุวัฒน์ วัฒนวงศ์. (2544). จิตวิทยาเพื่อการอบรมผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: ธีระป้อมวรรณกรรม.
อุดม เชยกีวงศ์. (2551). การส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพฯ: แสงดาวจำ.