พฤติกรรมการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปรารถนา หลีกภัย

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออม ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรัง จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่า นักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดตรังส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีเงินออม ส่วนใหญ่มีจำนวนเงินออมรวมไม่เกิน 5,000 บาท พฤติกรรมการออม คือ มีการออมเงินบางเดือน ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการออมมากที่สุด คือ ตนเอง ส่วนใหญ่มีรูปแบบการออม คือ การออมในรูปเงินสดไว้กับตนเอง และวัตถุประสงค์ของการออม คือ เพื่อใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในเขตพื้นที่จังหวัดตรังในระดับมาก คือ รายได้ในปัจจุบันและรายจ่ายในปัจจุบัน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตพื้นที่จังหวัดตรัง คือ ปัจจัยรายได้ต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับจำนวนเงินออมรวมของนักศึกษาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.00 และรายจ่ายต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับจำนวนเงินออมรวมของนักศึกษาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วาณิชย์บัญชา (2549). สถิติสาหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กษิด์เดช เจริญวงศ์ และคณะ (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการออมเงินของนักศึกษาคณะบริหารธุริกจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ไกรวิชญ์ และคณะ (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติการออมของผู้บริภคเพื่อการใช้จ่ายในอนาคตของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
สวนดุสิต. 14(2), พฤษภาคม-สิงหาคม 2561, 313-329.
จุฑาทิพย์ ฤกษ์สันทัด. (2555). เปรียบเทียบพฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัทเอกชนและข้าราชการในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ดาราภรณ์ โคสิริวิวัฒน์ (2558). การศึกษาพฤติกรรมและรูปแบบการออมของข้าราชการกองทัพอากาศ. การค้นคว้าอิสระ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นเรศ หนองใหญ่ (2560). พฤติกรรมการออมของประชาชนในเชตพื้นที่พัทยา จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
เนษพร นาคสีเหลือง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการออมเพื่อเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุของประชาชนอายุระหว่าง 30-40 ปี ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. สถาบันวิจัยและ
พัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
มุกดา โควกุล. (2558). การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สาขาวิชาการเงินและการลงทุน คณะ
บริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยรังสิต.
มัลลิกา บุนนาค (2537). สถิติเพื่อการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประพันธ์ เศวตนันทน์ และไพศาล เล็กอุทัย. (2544) หลักเศรษฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วันดี หิรัญสถาพร และคณะ. (2558). พฤติกรรมการออมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. รัตนโกสินทร์บพิตรพิมุขจักรวรรดิ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์บพิตรพิมุขจักรวรรดิ.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2556). หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด
วิไลลักษณ์ เสรีตระกูล (2557). ปัจจัยในการทำนายพฤติกรรมการออมของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 28(85), มกราคม-
มีนาคม 2557, 301-315.
ศิริพร โสมคำภา และคณะ (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดกำแพงเพชร. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัย
ราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ศุภฤกษ์ มณีลาภ และคณะ (2561). พฤติกรรมการออมของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. การประชุม
วิชาการระดับชาติการเรียนรู้เชิงรุก ครั้งที่ 6 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
เอกฉัตร สิริสรรคานันต์. (2547). หลักเศรษฐศาสตร์มหภาค. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ.