Login or Register to make a submission.

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.

  • เป็นบทความวิจัย บทความวิชาการ ในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ การศึกษา รัฐประศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ การพัฒนาชุมชน วัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ บริหารธุรกิจ การท่องเที่ยว และนิเทศศาสตร์ มีความน่าสนใจ และไม่ล้าสมัย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
  • บทความที่ส่งมาให้พิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นมาก่อน และจะต้องไม่ส่งตีพิมพ์ซ้ำซ้อนในวารสารหลายฉบับในเวลาเดียวกัน
  • บทความวิจัย หัวข้อที่เสนอในเนื้อหา ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา / วัตถุประสงค์ของการวิจัย /
    สมมุติฐานการวิจัย (ถ้ามี) / วิธีดำเนินการวิจัย / สรุปผลการวิจัย / อภิปรายผลการวิจัย / ข้อเสนอแนะ / เอกสารอ้างอิง
    บทความวิชาการหัวข้อที่เสนอในเนื้อหา ประกอบด้วย บทนำ / เนื้อหา / สรุป / เอกสารอ้างอิง

  • บทความใช้กระดาษเป็น B5 (JIS) โดยจำนวนหน้าของเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 15 หน้า ใช้รูปแบบของ Word ตัวอักษร TH Sarabun PSK ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง/ผู้ส่งบทความเรียบร้อยแล้ว
  • กรณีที่บทความของท่านเข้าสู่กระบวนการส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิตรวจพิจารณาแล้ว ผู้แต่ง/ผู้ส่งบทความของยกเลิกการพิจารณาบทความ ผู้แต่ง/ผู้ส่งบทความจะต้องชำระค่าใช้จ่ายในส่วนของค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดที่พิจารณาบทความ

คำแนะนำในการเขียนบทความ (สามารถดาวน์โหลดได้ที่คลิก)

     การส่งต้นฉบับและการพิมพ์บทความ หลักเกณฑ์การส่งต้นฉบับและการพิมพ์บทความ

     1. ต้นฉบับต้องพิมพ์ตามรูปแบบและข้อแนะนำในการเขียนบทความของวารสารนี้เท่านั้น
     2. ต้นฉบับที่ส่งมาให้พิจารณาลงตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นมาก่อน และจะต้องไม่ส่งตีพิมพ์ซ้ำซ้อนในวารสารหลายฉบับในเวลาเดียวกัน
     3. การตีพิมพ์บทความลงในวารสาร จะเรียงตามลำดับก่อนหลังตามวันที่ได้รับเรื่อง
     4. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตีพิมพ์บทความทุกเรื่องรวมทั้งการปรับปรุงบทความบางส่วนตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้อ่านบทความ
     5. กรณีเป็นบทความวิทยานิพนธ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กองบรรณาธิการจะคัดเลือกบทความที่นักศึกษาส่ง ซึ่งอาจไม่ได้ตีพิมพ์ทุกบทความ
     6. บทความที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร ถือว่าเป็นผลงานทางวิชาการหรืองานวิจัยของคณะผู้เขียนไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ ผู้เขียนและคณะต้องรับผิดชอบต่อบทความของตน
     7. บทความที่ได้ผ่านการพิจารณาแล้ว ทางกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษร การส่งต้นฉบับ ส่งต้นฉบับเอกสารพร้อมไฟล์ข้อมูลที่สถาบันวิจัยและพัฒนา  อาคาร 1 ชั้น 2  มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร  62000โทรศัพท์ 0 5572 1879, 0 5572 2500 ต่อ 1760  และสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ นายทวิช  ปิ่นวิเศษ โทรศัพท์ 08 4593 9223, 0 5572 1879, 0 5572 2500 ต่อ 1760 E-mail : [email protected]

     รูปแบบการพิมพ์บทความ
     1. ให้พิมพ์ลงบนกระดาษ ตั้งค่ากระดาษเป็น B5 (JIS) โดยจำนวนหน้าของเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 15 หน้า ใช้ตัวอักษร TH Sarabun PSK และแต่ละหน้าไม่เกิน 30 บรรทัด
     2. ข้อปฏิบัติการพิมพ์แต่ละหัวข้อ/ส่วนประกอบที่หัวข้อ/ส่วนประกอบคำอธิบาย1ชื่อบทความระบุชื่อบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร  16 พอยท์ชนิดหนา ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ2ชื่อผู้เขียนบทความระบุชื่อผู้วิจัย,ผู้ร่วมวิจัย (ถ้ามี), อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์, กรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ทุกคนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 14 พอยท์ ชนิดหนา ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
     3. สังกัดผู้เขียนบทความระบุวุฒิการศึกษา ชื่อสถาบันการศึกษาหรือวุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ หน่วยงานที่สังกัดทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 12 พอยท์ ธรรมดา ไว้ที่เชิงอรรถท้ายหน้า
     4. บทคัดย่อบทคัดย่อภาษาไทย ไม่เกิน 10 บรรทัดและภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 250 คำ
     5. คำสำคัญระบุคำสำคัญ 2-5 คำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไว้ท้ายบทคัดย่อ
     6. เนื้อหาทุกหัวข้อใช้ขนาดตัวอักษร 14 พอยท์ ชนิดหนา วางไว้ชิดขอบซ้าย ส่วนรายละเอียดใช้ขนาดตัวอักษร 14 พอยท์ ธรรมดา บทความวิจัย หัวข้อที่เสนอในเนื้อหา ประกอบด้วย 1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (Statement of the Problem) 2.วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objectives) 3.สมมุติฐานการวิจัย (ถ้ามี) (Research Hypothesis) 4. วิธีดำเนินการวิจัย (Methodology) (ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบการวิจัย (Research Design) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง (Population and Sample) หรือแหล่งข้อมูล/ผู้ให้ข้อมูล (Source of Data / Informant) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (Research Instrument / Tool) และการหาคุณภาพ (Quality Testing) การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)โดยเขียนแยกหัวข้อ) 5. สรุปผลการวิจัย (Conclusion) (ระบุผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ โดยสรุปซึ่งอาจมีตารางหรือภาพประกอบ) 6.อภิปรายผลการวิจัย (Discussion) (ระบุประเด็นที่เป็นผลการวิจัยที่สำคัญในแต่ละวัตถุประสงค์ และอภิปรายโดยมีการอ้างอิงทฤษฎีหรืองานวิจัย) 7.ข้อเสนอแนะ (Suggestion) (ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปโดยนำเสนอแยกหัวข้อ) หัวข้อเนื้อหาทั้ง 7 หัวข้อ ไม่ต้องระบุหมายเลข ใช้ขนาดตัวอักษร 14 พอยท์ ชนิดหนา ส่วนรายละเอียดเนื้อหาใช้ขนาดตัวอักษร 14 พอยท์ ชนิดธรรมดา บทความวิชาการหัวข้อที่เสนอในเนื้อหา ประกอบด้วย บทนำ (Introduction) เนื้อหา (Content) และสรุป(Conclusion) ใช้ขนาดตัวอักษร 14 พอยท์ ชนิดหนา ส่วนรายละเอียดเนื้อหาใช้ขนาดตัวอักษร 14 พอยท์ ชนิดธรรมดา
     7. ตาราง (ถ้ามี)ตารางที่แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ตารางแบบเส้นคู่ เปิด-ปิดตาราง
     8. การอ้างอิงในเนื้อหาลงรายการชื่อผู้แต่ง, ปี, หน้า ตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในวารสารนี้ (ยึดรูปแบบ APA)
     9. เอกสารอ้างอิงการอ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการต้องนำไปใส่ไว้ในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความในรูปแบบการลงรายการบรรณานุกรมที่กำหนดไว้ในวารสารนี้ (ยึดรูปแบบ APA) และต้องพิมพ์ทั้งภาษาไทยและแปลเป็นภาษาอังกฤษ

เอกสารเพิ่มเติม
1.แบบฟอร์มการส่งบทความ (สถานะอาจารย์หรือบุคคลทั่วไป)
2.แบบฟอร์มการส่งบทความ (สถานะนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก)
3.แบบฟอร์มค่าใช้จ่าย
4.Template ของบทความวิจัย
5.Template ของบทความวิชาการ