การศึกษากลองยาวในสังคมและวัฒนธรรมชาวนครสวรรค์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและลักษณะเฉพาะทางกายภาพของกลองยาว ความเชื่อและบทบาทของกลองยาว และวิเคราะห์จังหวะที่ใช้ในการตีกลองยาวในจังหวัดนครสวรรค์ ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนของการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้การนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาวิเคราะห์ ตามระเบียบวิธีการวิจัยทาง มานุษยดนตรีวิทยา ผลการวิจัยพบว่า กลองยาวเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้เล่นในสังคมของชาวนครสวรรค์มาแล้วประมาณ 110 ปี โดยในเบื้องต้นเกิดจากการรวมกลุ่มของชาวบ้านในจังหวัดนครสวรรค์ร่วมกันคิดสร้างสรรค์เป็นการละเล่นพื้นบ้านเพื่อใช้ในการแห่ขบวนของงานบุญต่างๆ ในพุทธศาสนา ต่อมาจึงได้ขยายบทบาทเพื่อรับใช้สังคมในด้านต่างๆ ลักษณะเฉพาะทางกายภาพของกลองยาวในจังหวัดนครสวรรค์ หุ่นกลองทำจากไม้ขนุน หน้ากลองทำจากหนังวัว สายขึงหน้ากลองใช้เชือกไนล่อน สายสะพายกลองใช้ผ้าถัก หุ่นกลองมีความยาว 81 เซนติเมตร หน้ากลองมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 23 และ 24.5 เซนติเมตร ไหกลอง มีความยาว 23 เซนติเมตร เอวกลองมีความยาวของเส้นรอบวง 28 เซนติเมตร ลำโพงกลองมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาว 26 เซนติเมตร วัสดุที่ทาเคลือบผิวหุ่นกลองใช้เชลแล็ก ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับกลองยาวในจังหวัดนครสวรรค์ ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และความเชื่อเกี่ยวกับผี บทบาทของกลองยาวในจังหวัดนครสวรรค์ มีบทบาทในด้านพุทธศาสนา ด้านประเพณี ด้านการบันเทิง ด้านการศึกษา ด้านการกีฬา ด้านการแสดงพื้นบ้าน ด้านอาชีพ ด้านสัญลักษณ์ในการสื่อสาร และด้านการแสดงฐานะของบุคคล จังหวะที่ใช้ในการตีกลองยาวในจังหวัดนครสวรรค์ พบว่ามีจำนวน 12 จังหวะ ได้แก่ จังหวะหนึ่งบ่อม จังหวะสองบ่อม จังหวะสามบ่อม จังหวะสี่บ่อม จังหวะสองเปิ้ง จังหวะสามเปิ้ง จังหวะเร็ว จังหวะกราว จังหวะเซิ้งกลองยาว จังหวะเดิน จังหวะม้าย่องกลองยาว และจังหวะมาเนิ้ด
A Study of the Sociocultural Importance of Klong Yao for the People of Nakhon Sawan
ABSTRACT
The purposes of this research were to study the history and the physical structure, the belief and the role of Klong Yao in Nakhon Sawan province, and also to analyze it’s musical rhythm by ethnomusicology research methodology. According to the history of Klong Yao, there has been sociocultural playing it as musical instrument for people in Nakhon Sawan for 110 years. It was formerly played as a traditional folk music by people of Nakhon Sawan in Buddhist rituals and auspicious ceremonies, and later in other extended roles. The physical characteristics of typical Klong Yao drum body of the Klong Yao drum are made of jack-fruit wood covered with bull skin and cord of nylon rope. The slings are made of knitted cloth, with 81 cm. of body length, 23 cm. of drum head length, 23 and 24.5 cm. of diameter. The drum waist is 28 cm. in circumference, and the diameter of the drum tail is 26 cm. the body of Klong Yao was anointed with shellac. The belief in this particular music instrument has been influenced by Buddhism, Bramanism, Hinduism and superstition. The role of this music instrument has been rooted in Buddhism, tradition, entertainment, education, sports, folk performance, vocation, communication signs and personal positions in Nakhon Sawan province. The musical rhythm of this music instrument has twelve musical rhythmic patterns. They are Neng Bom, Song Bom, Sam Bom, Si Bom, Song Perng, Sam Perng, Rael, Ground, Seng Klong Yao, Dern, Ma Yong Klong Yao and Ma Neard.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลับราชภัฏกำแพงเพชร
ข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฎในวารสารเป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรและบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย